ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยี Smart Farm แปลงเกษตรปลอดภัย ”


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยี Smart Farm แปลงเกษตรปลอดภัย ”

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

ด้วยภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ร่วมกับหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินการจัดโครงการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยี Smart Farm แปลงเกษตรปลอดภัย” เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านการเรียนการสอนนอกห้องเรียนโดยฝึกทักษะจากพื้นที่จริง โดยการนำทักษะเฉพาะทางศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า และบูรณาการกับศาสตร์ทุกภาควิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์มีประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในหัวข้อเรื่อง “ถ่ายทอดเทคโนโลยี Smart Farm แปลงเกษตรปลอดภัย” ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกร ชุมชน และสังคม และมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีใหม่ โดยการนำความรู้จากการฝึกอบรมในครั้งนี้ เพื่อเป็นฟาร์มต้นแบบสำหรับการเกษตร และเป็นศูนย์การเรียนรู้แนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไป ในการนี้ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวซึ่งทำให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกร ชุมชน และสังคม จึงได้จัดโครงการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยี Smart Farm แปลงเกษตรปลอดภัย” ขึ้น เพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดความรู้ และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรจิตอาสาในการปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร ชุมชน และผู้สนใจทั่วไป นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและบริการวิชาการทางวิศวกรรมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals และยังดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผน PDCA ด้วย

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับ เกษตรกร ชุมชน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานของระบบ Smart Farm และการบำรุงรักษาการพัฒนาการศึกษาสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง และเกิดความรู้ ทักษะ และพัฒนาต่อยอดสู่นวัตกรรมการเรียนรู้ต้นแบบ 3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (SDGs17) 4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสู่การขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม 5. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดี ๆ กลับสังคม

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2024-08-30

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2024-08-30

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง จ.นครปฐม

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

- หน่วยงาน ESR - เกษตรอำเภอพุทธมณฑล - เกษตรจังหวัดนครปฐม - วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง จ.นครปฐม

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ


ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

60 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

1. เกษตรกร ชุมชน และผู้สนใจทั่วไป ได้รับความรู้ในการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าระดับ 3.51 2. บุคลากร และนักศึกษา ได้พัฒนาศักยภาพในการการถ่ายทอดองค์ความรู้ ความชำนาญ และความเชี่ยวชาญให้กับเกษตรกร ชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไปเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงไม่น้อยกว่าระดับ 3.51 3. เกิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (SDGs17) ไม่น้อยกว่า 1 โครงการ 4. ได้กิจกรรมสู่การขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง 5. องค์กรได้ปลูกผังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดี ๆ กลับสังคม

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2024-08-31

ไฟล์เอกสาร

23012025144228_รูปภาพโครงการ Smart Farm_EE.pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

- FB:วิศวะมหิดลเพื่อสังคม - https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/ - https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egee/

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 7: สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเย

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน