ชื่อโครงการ/Project Name:
|
การวัดผลลัพธการเรียนรูของนักศึกษาในวิชาภาคปฏิบัติการโดยเชื่อมโยงกับวิชาภาคทฤษฎีตามแนวทางมาตรฐานของ ABET
|
ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:
|
ในการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมใดก็ตาม นอกจากความรู้ ความเข้าใจในภาคทฤษฎีแล้ว ทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมอันได้มาจากการฝึกฝนในวิชาภาคปฏิบัติการต่างๆ ในห้องปฏิบัติการก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นวิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรม หรือทำงานในด้านการวิจัย ล้วนจำเป็นต้องมีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ (critical thinking skills) และทักษะการแก้ปัญหาทางเทคนิค (Technical troubleshooting skills) ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งถ้าหลักสูตรใดสามารถสร้างวิศวกรออกไปสู่
ตลาดแรงงานโดยมีทักษะความสามารถทั้งสองด้านได้ดี จะเป็นที่ต้องการของบริษัทที่มีการรับวิศวกรใหม่เข้ามา หรือเป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณทิตในตลาดแรงงานอื่นๆ เป็นอย่างมาก การทำให้หลักสูตรสามารถผลิตวิศวกรได้อย่างมีคุณภาพนั้น นอกจากจะได้รับรองจากสภาวิชาชีพ เช่น สภาวิศวกรแล้ว อาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับการทำงานในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่าวิศวกรที่จบในหลักสูตรที่
ได้รับการรับรองมาตรฐานนานาชาติ และเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษดีระดับหนึ่ง สามารถที่จะทำงานที่ไหนในโลกก็ได้ ทำให้โอกาสของวิศวกรผู้นั้นเปิดกว้างกว่าวิศวกรที่จบจากที่อื่น ดังนั้นหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ หนึ่งในสถาบันนั้นคือ ABET [5] (Accreditation Board of Engineering and
Technology) ซึ่งทำหน้าที่ในการให้การรับรองมาตรฐานหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการรับรองถึง 6 หลักสูตรเป็น แห่งแรกของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 และสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ก็เป็นหนึ่งในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ABET ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จึงให้ความสำคัญต่อการควบคุมมาตรฐานการศึกษาตามการประเมินอิงตัวชี้วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา (Student
Outcomes :SO) ของ ABET ในทุกตัวชี้วัด ซึ่งความท้าทายหนึ่งสำหรับการตรวจสอบว่าวิชาสอนที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการหรือการทำการทดลองต่างๆ ในหลักสูตรได้ผ่านเกณฑ์การวัด ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาหรือไม่ หรือมีขบวนการ การดำเนินการอย่างไร ซึ่งจะเป็นหัวข้อหลักที่จะอภิปรายในบทความนี้
|
วัตถุประสงค์/Objective *:
|
เพื่อนำเสนอแนวความคิดและขบวนการในการเข้าถึงและการประมวลผลตัวชี้วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา ในวิชาภาคปฏิบัติการที่สอนในห้องปฏิบัติการต่างๆ ที่ทุกหลักสูตรในสาขาวิศวกรรมทุกสาขา
สามารถใช้เป็นแนวทางได้ การทำให้ได้มาซึ่งการบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการรับรองหลักสูตรของ ABET (Accreditation Board of Engineering and Technology) รวมทั้งเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการวัดและ
การประมวลผลของวิชาปฏิบัติการกับวิชาภาคทฤษฎีที่สอนควบคู่กันจะถูก อภิปรายในบทความนี้ โดยเฉพาะตัวชี้วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาตัวที่ 5 และ 6 ของ ABET บทสรุปจะแสดงเปอร์เซ็นต์การบรรลุผลการเรียนรู้ดังกล่าวของการเชื่อมโยงกันอย่างมีนัยยะของวิชาภาคปฏิบัติการและภาคทฤษฎี ซึ่งทดลองใช้กับนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าจำนวนสาม
รุ่นปีการศึกษาได้ผลเป็นที่น่าพอใจ อันส่งผลต่อนักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการทำโครงงานในชั้นปีสุดท้ายและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาต่อไป
|
วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:
|
2024-08-01
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:
|
ไทย
|
วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:
|
2024-09-27
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity / project location):
|
- การประชุมวิชาการ วิศวการศึกษา ครั้งที่ 20
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
- ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:
|
- การประชุมวิชาการ วิศวการศึกษา ครั้งที่ 20
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:
|
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
|
ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:
|
ผลกระทบด้านคน
ผลกระทบด้านคน
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Activity / project implementation model) *:
|
การประชุม / การสัมมนา
|
จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน) (Target / Activity country) *:
|
200
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target / Activity group) *:
|
- ผลงานบทความทางวิชาการระดับชาติ
|
วันที่เริ่มนำไปใช้ *:
|
2024-09-28
|
ไฟล์เอกสาร
|
27012025135124_Paper_EE_NCEE15_การวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ในวิชาภาคปฎิบ.pdf
|
เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:
|
- การประชุมวิชาการ วิศวการศึกษา ครั้งที่ 20
- https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/
- https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egee/
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ
|