ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการฝึกอบรม เรื่อง “Prompt Engineering for Autonomous AI Developer”


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการฝึกอบรม เรื่อง “Prompt Engineering for Autonomous AI Developer”

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

การออกแบบและการใช้งานพรอมต์ (Prompt) เป็นกระบวนการในการประยุกต์การใช้งาน AI หรือปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ที่เริ่มมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เป็นเครื่องมือที่มีความสามารถหลากหลายในการทำงานด้านต่างๆ ทั้งการสร้างสรรค์ผลงาน การเป็นตัวช่วยหรือผู้ช่วยที่มีความสามารถสูง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยกระบวนการทำงาน จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Process , NLP) โดยมุ่งเน้น การพัฒนาและปรับพรอมต์ (Prompt) ให้เหมาะสมสำหรับการใช้สั่งการโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model, LLM) ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้มีความสามารถ ในการทำงานที่หลากหลายหลักสูตร " Prompt Engineer for Developer " จึงถูกออกแบบ มาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่ต้องการการเรียนรู้ ออกแบบ และประยุกต์ใช้งานพรอมต์ (Prompt) อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสั่งการให้ AI ทำงานได้อย่างชาญฉลาด จากการออกแบบและเขียนคำอธิบายสิ่งที่ต้องการในการทำงาน ทั้งการออกแบบคำสั่ง บริบท ตัวอย่าง วิธีการ รูปแบบของผลลัพธ์ และข้อความอินพุท (Input) ในรูปแบบคำถามที่ส่งไปให้ AI และ LLM เพื่อให้สามารถประมวลผล ออกมาเป็นคำตอบตามความต้องการของผู้ใช้งาน และจากการที่ AI เติบโตและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบันนี้ ส่งผลให้การใช้พรอมต์ (Prompt) ที่มีประสิทธิภาพสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ และช่วยในการปรับแต่งโมเดล AI ให้สอดคล้องกับงานที่เฉพาะเจาะจงได้ดียิ่งขึ้น โดยในหลักสูตรนี้จะครอบคลุมตั้งแต่การเรียนรู้ภาคทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติเพื่อออกแบบ พรอมต์ (Prompt) ที่สามารถสื่อสารและประยุกต์ใช้งานกับ AI ได้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพสูง เริ่มตั้งแต่การเรียนรู้แนวคิดทฤษฎีและแนวทางในการประยุกต์ใช้งานพรอมต์ (Prompt) การปรับแต่ง พรอมต์ (Prompt) เพื่อการตอบสนองที่เหมาะสมกับงานที่หลากหลาย รวมถึงการนำเสนอแนวทาง ในการจัดการกับความผิดพลาดและการควบคุมคุณภาพในการใช้พรอมต์ (Prompt) ผู้เข้าอบรมจะได้ฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการทำงานกับ AI ในสถานการณ์จริง ทั้งการพัฒนาแอปพลิเคชัน ที่ใช้งาน AI ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ LLM ในงานต่างๆ เช่น การตอบคำถามทั่วไป การประยุกต์ใช้พรอมต์ (Prompt) ในการทำงานเฉพาะทาง ซึ่งเป็นเทคนิคในการออกแบบให้มีการทำงานโต้ตอบระหว่าง LLM และเครื่องมือภายนอกอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับแต่งและพัฒนาโมเดล AI ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะได้ ทั้งนี้ผู้เข้าอบรมจะได้มีโอกาสทำโครงการ (Project) ที่เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่ได้จากอบรมหลักสูตร และนำเสนอผลงานโครงการ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าอบรมพร้อมที่จะนำความรู้และทักษะที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการทำงาน การประกอบอาชีพ และการพัฒนาธุรกิจให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล หลักสูตรนี้จึงตอบสนอง ความต้องการของผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะในการทำงานกับ AI ในระดับสูง และเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นผู้นำด้านการใช้งาน AI ในอนาคต

วัตถุประสงค์/Objective *:

1) เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถทางด้านการเขียน Prompt Engineering ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ให้แก่บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจจนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในด้านต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ได้ 2) เพื่อจัดทำหลักสูตรที่มีเนื้อหาและเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้จริง

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2024-07-21

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2024-07-21

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

- คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล - จัดการอบรมแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Conference

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

เจ้าหน้าที่ บุคลากร และบุคคลทั่วไปที่สนใจทางด้านการเขียน Prompt Engineering

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:

ผลกระทบด้านคน


ผลกระทบด้านคน

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

60 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

1. ผู้ร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ 2. ผู้ร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการบริหารจัดการ และนำไปต่อยอดกับการทำงาน ทางด้านต่าง ๆ ได้

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2024-07-22

ไฟล์เอกสาร

25032025102448_ESR_IT_แบบบันทึกข้อมูล Mahidol Social Engagement (MUEG_New_67)-ITM-Prompt Engineering.pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

- https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/ - https://itm.eg.mahidol.ac.th/ - FB:วิศวะมหิดลเพื้อสังคม

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ