ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการ “การพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 สู่นักเรียนประถมศึกษา”


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการ “การพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 สู่นักเรียนประถมศึกษา”

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

ด้วยทางโรงเรียนวัดประชานาถ (เลื่อนสะเทื้อนราษฎร์รังสรรค์) จ.นครปฐม มีนโยบายมุ่งจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา พัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพีงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานและจัดการเรียนการสอนได้ตามมาตรฐาน และจัดระบบการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนด้วยระบบคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ซึ่งขณะนี้ทางโรงเรียนมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 พบว่า ขาดครูสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ระดับผลสัมฤทธิ์ระดับชาติขั้นพื้นฐานยังไม่บรรลุตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งทางโรงเรียนเห็นความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการฝึกทักษะและเทคนิคในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนด้านการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งทางโรงเรียนขาดบุคลากรเกี่ยวกับการสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวให้กับนักเรียนจนประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายและนโยบายของโรงเรียน ซึ่งการดำเนินการจัดอบรมพัฒนาในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านการศึกษาและยกระดับการศึกษาของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ด้านการพัฒนาด้านการเรียนการสอน ดังนั้น ทางโรงเรียนฯพิจารณาแล้วเห็นว่าสถาบันการศึกษา โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมให้ความรู้ และสร้างนวัตกรรม ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมดีๆให้เกิดประโยชน์แก่โรงเรียน วัด วิทยาลัย โรงพยาบาล ชุมชนและสังคม อีกทั้งยังมีทีมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆที่มีความเชี่ยวชาญระดับชาติและระดับสากลจึงขอให้ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวให้กับนักเรียนของโรงเรียนในครั้งนี้และตลอดไป จากปัญหาดังกล่าวทางงานวิศวกรรมฯจึงเห็นว่าการจัดอบรมพัฒนาทักษะในเรื่องดังกล่าวให้กับนักเรียนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทางโรงเรียนฯ ชุมชน และสังคม คือ 1) โรงเรียนฯได้รับการพัฒนารายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีศักยภาพมากขึ้น 2) โรงเรียนฯได้รับการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนทำให้โรงเรียนฯมีศักยภาพด้านการศึกษา 3) ผู้ปกครอง/ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจและรักในถิ่นฐานบ้านเกิดจึงนำลูกหลานเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนทำให้มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น 4) ชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนที่มีสถาบันการศึกษาคุณภาพและทันสมัย 5) โรงเรียนฯได้รับการยกระดับมาตรฐานด้านการศึกษาที่มีคุณภาพและทันสมัยเพื่อรองรับรายวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และ 6) โรงเรียนฯมีการสร้างฐานการศึกษาที่ดีเพิ่มขึ้น ดังนั้น งานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับชุมชน และเยาวชนซึ่งเป็นกำลังหลักของประเทศ จึงได้จัดโครงการ “การพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 สู่นักเรียนประถมศึกษา” ขึ้น เพื่อฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดความรู้ และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรจิตอาสาในการปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้และฝึกทักษะให้กับนักเรียนจากโรงเรียนวัดประชานาถฯที่มาจากโรงเรียนรัฐบาล นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับนักเรียนและโรงเรียนต่อไป และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและบริการวิชาการทางวิศวกรรมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 4 Management For Self-Sufficiency and Sustainable Organization และยังดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผน PDCA ด้วย

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพื่อฝึกทักษะให้กับบุคลากรนักศึกษาจิตอาสา 2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง 3. เพื่อพัฒนาผลการทดสอบการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4. เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สู่เทคโนโลยีให้กับโรงเรียน จำนวน 1 หลักสูตร 5. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดีๆกลับสังคม

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2022-07-11

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2022-08-25

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

โรงเรียนวัดประชานาถ (เลื่อนสะเทื้อนราษฎร์รังสรรค์)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

โรงเรียนวัดประชานาถ (เลื่อนสะเทื้อนราษฎร์รังสรรค์)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

90 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

- จัดค่ายอบรมครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากวิศวกรรมประยุกต์ในการใช้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพ - จัดเวทีเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านรับใช้สังคมเพื่อให้เกิดกระบวนการความคิดพัฒนาต่อยอดสู่ความยั่งยืน - บูรณาการศาสตร์หลายๆศาสตร์ร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการศึกษา - การวิจัยและบูรณาการร่วมกันโดยใช้ศาสตร์วิศวกรรมเพื่อประยุกต์ให้เกิดนวัตกรรมต้นแบบทางการศึกษาสู่กระบวนการเรียนรู้จริง

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2022-08-25

ไฟล์เอกสาร

02112022101031_กำหนดการจัดโครงการวิทยาศาสตร์สู่ศตวรรษที่ 21 (ปฏิบัติงาน).pdf 02112022101031_แผนการดำเนินงานโครงการวิทยาศาสตร์สู่เทคโนโลยี รร.วัดประชานาถ.pdf 02112022101031_รายงานผลกิจกรรม-โครงการวิทยาศาสตร์ศตวรรษที่ 21.pdf 02112022101031_รูปโครงการวิทยาศาสตร์ รร.วัดประชานาถ.pdf 02112022101031_สไลด์สรุปติวเข้มสอบเข้าม.1วิทย์ (1) (1).pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/ เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน