ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการ “การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพในวัดและชุมชนท้องถิ่น”


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการ “การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพในวัดและชุมชนท้องถิ่น”

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ การบริการวิชาการเพื่อความยั่งยืน และมหาวิทยาลัยมหิดล ได้กำหนดยุทธศาสตร์ Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นผู้นำด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงนโยบายระดับชาติและนานาชาติ ด้วยการสร้างระบบขับเคลื่อนและสนับสนุน Policy Advocacy Platform และ Ecosystem จากการนำผลงานวิิจัยและงานวิิชาการสู่การเป็นนโยบายสาธารณะให้เกิดเป็นรูปธรรม และสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างขีดความร่วมมือกับองค์กรภายนอก (Capacity Building) และยังเป็นการนำไปสู่การชี้นำสังคมและขับเคลื่อน 17 เป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติเพื่อสังคมที่ดีขึ้นต่อไป โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีจุดแข็งด้านศาสตร์วิศวกรรมและเทคโนโลยีในการบริการวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการนำของที่เหลือใช้มาพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยีนวัตกรรมสู่สังคมด้วยพลังงานทดแทนสะอาด จะเห็นได้ว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความแตกต่างตรงที่เรามีการบริการวิชาการเพื่อสังคม ซึ่งจะสามารถช่วยชี้นำสังคมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้อย่างแท้จริง โดยเรามุ่งเป็น”ปัญญาของแผ่นดิน” หรือ “Wisdom of the Land” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อการขับเคลื่อนงานบริการวิชาการเพื่อสังคม และการสร้างผลงานทางวิชาการเพื่อสังคม ให้ส่งผลกระทบ (Impact) ที่ตอบโจทย์ในระดับนโยบายของประเทศและขยายผลสู่ระดับสากลต่อไป ด้วยรัฐบาลมีนโยบายด้านพลังงาน ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วน คือ การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการราคาพลังงานทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในทันที ประกอบกับรัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ โดยวางแผนความต้องการและสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเร่งเจรจาการใช้พลังงานในพื้นที่อ้างสิทธิกับประเทศข้างเคียงและสำรวจแหล่งพลังงานเพิ่มเติม รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ภายใต้กลไกตลาด เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยจะมีความมั่นคงทางพลังงานที่จะขับเคลื่อนประเทศต่อไป ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนและยกระดับคุณภาพชีวิตของช่างชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์กับการพัฒนาทักษะด้านการช่าง เพื่อลดต้นทุนการผลิต ขยายโอกาสสู่การสร้างอาชีพ และการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โครงการนี้จึงนำร่องการพัฒนาความรู้และเสริมทักษะการนำร่องสู่ช่างชุมชนภาคตะวันออก สำหรับเป็นช่างชุมชนต้นแบบภาคตะวันออกในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่อไป นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายสาธารณะไทย คือ แนวทางที่รัฐบาล หรือสถาบัน กำหนดขึ้น อาจทำออกมาในรูปโครงการ แผนการ เพื่อเป็นหนทางชี้นำให้เกิดการปฏิบัติต่างๆ ที่สอดคล้องกับแนวทางที่ตั้งไว้เพื่อแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย คือประชาชนกลุ่มหนึ่ง/ในพื้นที่หนึ่ง ซึ่งอาจไม่ใช่คนทั้งประเทศก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าอยากให้แนวทางนั้นเกิดขึ้นและมีผลต่อกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง โดยนโยบายสาธารณะมักจะปรากฎตามการหาเสียงเลือกตั้ง การแถลงนโยบายของรัฐบาลที่เสมือนเป็นการแจ้งให้ประชาชนทราบว่า รัฐบาลมีแนวทางจัดการกับประเด็นต่างๆ อย่างไร สืบเนื่องจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) มุ่งพัฒนาการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล ข้อ 8.6 ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทุกช่วงวัย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และชุมชนในการพัฒนาคนให้นำประเทศสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) การจะขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมได้นั้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นคลังความรู้ของประเทศเพื่อนำนวัตกรรมการศึกษาตลอดจนความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรและเทคโนโลยีไปช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเน้นการพัฒนาศักยภาพครูผ่านทางกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ด้วย โรงเรียนพระปริยัติธรรมในเขตพื้นที่ภาคกลาง เป็นโรงเรียนต้นแบบที่มีความประสงค์พัฒนาทักษะครูสำหรับการสร้างสื่อการสอนด้วยนวัตกรรมด้านวิศวกรรมศาสตร์ด้วยพลังงานทดแทนจากวัสดุเหลือใช้แต่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างมีประสิทธาภาพ โดยดำเนินการสนับสนุนการเรียนการสอนครูด้านเทคโนโลยีศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์และศาสตร์ด้านอื่นๆเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับทางโรงเรียนมากที่สุดจนทำให้โรงเรียนได้รับการยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึงสามารถใช้งานได้จริง เพื่อเป็นพื้นฐานให้ครูสามารถนำความรู้ไปพัฒนาการถ่ายทอดให้กับครูโรงเรียนในพื้นที่โดยรอบสถานที่ศึกษาของตนเองในการขยายความรู้ต้นแบบสู่วัด ชุมชน และสังคม สู่การขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม เรื่อง “แนวทางการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพในวัดและชุมชนท้องถิ่น” เนื่องจากทางโรงเรียนยังขาดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีไปช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนและวัดให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาศักยภาพทางด้านการสอนของครูให้มีศักยภาพด้านวิชาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิตและด้านคุณธรรมและจริยธรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า บริษัท NT จำกัด (มหาชน) บริษัท ลิงค์เทค (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท สมาร์ทไลฟ์อินโนเวชั่น จำกัด ดำเนินการสนับสนุนกิจกรรมที่ทางโรงเรียนยังขาดและมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดการเรียนการสอนของครู และนำความรู้สู่วัด และชุมชนต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป ดังนี้ 1) ดำเนินการจัดกิจกรรมการพัฒนาครู ด้วยกระบวนการเทคโนโลยีพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ โดยเน้นการพัฒนาครูเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพด้านวิชาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิตและด้านคุณธรรมและจริยธรรม จำนวน 4 กิจกรรม ดังนี้ 1.1 กิจกรรมการสร้างสื่อการสอนจากตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญที่ไม่ใช้งานแล้ว เป็น ตู้ชาร์จโทรศัพท์มือถืออัตโนมัติจากพลังงานแสงอาทิตย์ และการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน 1.2 กิจกรรมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน 1.3 กิจกรรมการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน 1.4 กิจกรรมการพัฒนาและออกแบบนวัตกรรมสื่อการสอน 2) ดำเนินการกิจกรรมการพัฒนาครูเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 3 กิจกรรม 2.1 กิจกรรมครูร่วมคิด วางแผน และออกแบบบทเรียน 2.2 กิจกรรมครูทดลองเรียนบทเรียนที่ออกแบบบทเรียน 2.3 กิจกรรมประเมินผลการใช้แบบบทเรียนเบื้องต้นก่อนนำไปถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม ให้เกิดความรู้ ทักษะ และการสร้างอาชีพให้กับช่างชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไป อาทิเช่น สถาบันการศึกษา วัด ชุมชน และสังคม โดยให้ความสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ต่อยอดไปจนถึงการสร้างสื่อนวัตกรรมการสอนและนวัตกรรมต้นแบบพลังงานทดแทน “ตู้ชาร์จโทรศัพท์มือถืออัตโนมัติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์” ได้ ในหัวข้อเรื่อง “การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพในวัดและชุมชนท้องถิ่น”” ซึ่งขณะนี้การศึกษาในเรื่องดังกล่าวทางโรงเรียน วัด และชุมชนยังขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะที่จะนำมาสู่กระบวนการเรียนการสอนกับนักเรียน พระภิกษุ และชุมชนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างยั่งยืน โดยการนำความรู้จากการฝึกอบรมในครั้งนี้ไปพัฒนาครู พระภิกษุ นักเรียน ชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไป ให้สามารถเข้าสู่การเรียนรู้ภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำเป็นระยะเวลาหนึ่งหลักสูตรได้เป็นอย่างดี จากปัญหาดังกล่าวทางหน่วยวิศวกรรมฯจึงเห็นว่าการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องดังกล่าวให้กับครู พระภิกษุ ชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไป เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทางโรงเรียน วัด ชุมชน และสังคม คือ 1) ครู โรงเรียน วัด และชุมชนได้รับความรู้ และทักษะในด้านการเรียนการสอนทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) คณะ/มหาวิทยาลัย/บริษัทได้สนับสนุนการสร้างทักษะ การศึกษาของครู พระภิกษุ ชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไป ทำให้โรงเรียน วัด ชุมชน และสังคมเกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัย เกิดทักษะ และเพิ่มมาตรฐานการเรียนรู้ที่ดีได้อย่างยั่งยืน 3) คณะ/มหาวิทยาลัย/บริษัทมีแผนการเรียน การสอน การสร้างทักษะสู่สังคมที่มีประสิทธิภาพ 4) ครู พระภิกษุ ชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไป ได้รับความรู้ ทักษะ และนำไปเป็นช่องทางการพัฒนาการเรียน การสอน การสร้างสื่อการสอนที่ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ 5) ชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนที่มีศักยภาพด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีงานทำ ได้อย่างประสิทธิภาพและทันสมัย 6) คณะ/มหาวิทยาลัย/บริษัทได้รับการยกระดับมาตรฐานการศึกษาเชิงทักษะของจังหวัดนครปฐม และ 7) คณะ/มหาวิทยาลัย/บริษัท/ชุมชน มีการสร้างฐานการศึกษา และการมีงานทำที่ดีเพิ่มขึ้น ในการนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศ จึงได้จัดโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ภายใต้โครงการ “การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพในวัดและชุมชนท้องถิ่น” ขึ้น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพในวัดและชุมชนท้องถิ่น สำหรับใช้เป็นแนวทางด้านพลังงานทดแทนสะอาดสู่นโยบายสาธารณะต่อไป และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 3 การบริการวิชาการเพื่อความยั่งยืน และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals และยังดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผน PDCA ด้วย

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูของโรงเรียนเป้าหมายเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการคิด วิเคราะห์ วางแผน ออกแบบบทเรียน และออกแบบนวัตกรรมสื่อการสอน เพื่อนำไปพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพด้านวิชาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิตและด้านคุณธรรมและจริยธรรม โดยการนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีไปช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 2. ส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมต้นแบบสู่วัดและชุมชนเพื่อให้มีความรู้ และทักษะในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3. สร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนเป้าหมาย วัด ชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมการเรียนการสอน คู่มือการเรียนรู้ และการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ 4. เพื่อส่งเสริมประสบการณ์งานด้านรับใช้สังคมให้กับบุคลากรจิตอาสา 5. เพื่อส่งมอบหลักสูตร “การพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนแสงอาทิตย์” 6. เพื่อสร้างผลงานด้านการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม 7. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (SDGs17) 8. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดีๆกลับสังคม

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2024-06-16

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2024-09-30

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

บริษัท ลิงค์เทค (ประเทศไทย) จำกัด/บริษัท สมาร์ทไลฟ์อินโนเวชั่น จำกัด/บริษัท NT จำกัด (มหาชน)/โรงเรียนพระปริยัติธรรมในเขตพื้นที่ภาคกลาง/วัดมหาสวัสดิ์นาคพุฒาราม/ชุมชนมหาสวัสดิ์

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

หน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:

ผลกระทบด้านคน


ผลกระทบด้านคน

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

46 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

1) ครูและโรงเรียนได้หลักสูตร เรื่อง “การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพในวัดและชุมชนท้องถิ่น” จำนวน 1 หลักสูตร 1) วัดและชุมชนได้รับความรู้ และทักษะในด้านการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ชุมชนได้พัฒนาความรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัย เกิดทักษะ และเพิ่มมาตรฐานด้านช่างได้อย่างยั่งยืน 3) ชุมชนมีแผนการสร้างนวัตกรรมลดโลกร้อนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและขยายโอกาสสู่ช่างชุมชนโดยรอบชุมชนข้างเคียง 4) ชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นช่างตัวอย่างที่ทันสมัย 5) ชุมชนได้รับโอกาสเรียนรู้ที่ยกระดับมาตรฐานเชิงทักษะของตำบล อำเภอ และจังหวัดนครปฐม 6) บุคลากรคณะฯได้รับการพัฒนาศักยภาพและได้ร่วมกิจกรรมจิตอาสางานด้านบริการวิชาการรับใช้สังคม 7. คณะและมหาวิทยาลัยได้สร้างผลงานด้านบริการวิชาการรับใช้สังคมเพิ่มขึ้น 8. คณะและมหาวิทยาลัยได้สร้างผลงานการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม 9. คณะและมหาวิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียน/วัด/ชุมชน/ภาคเอกชน

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2024-10-01

ไฟล์เอกสาร

31032025155726_รูปภาพโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพฯ (ชี้นำสังคม).pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

- https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/ - FB: วิศวะมหิดลเพื่อสังคม

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 7: สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเย

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต