ชื่อโครงการ/Project Name:
|
โครงการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพช่วยให้ชีวิตดีขึ้น”
|
ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:
|
ด้วยภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ร่วมกับหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินการจัดโครงการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพช่วยให้ชีวิตดีขึ้น” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะ อสม. และประชาชนตามที่รัฐบาลได้นำการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลัก และกำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ บนหลักการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพตนเอง และเพื่อนบ้าน ในรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขหรือ อสม. เพื่อเป็นแกนนำด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชน มาเป็นระยะเวลาครบ 30 ปี ด้วยมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกและศรัทธาในการพัฒนาอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพอย่างยั่งยืนที่แท้จริง
ในการนี้ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวซึ่งทำให้เกิดประโยชน์กับ อสม. ประชาชน และสังคม จึงได้จัดโครงการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพช่วยให้ชีวิตดีขึ้น” ขึ้น เพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดความรู้ และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรจิตอาสาในการปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ให้กับ อสม. ประชาชน และชุมชน นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและบริการวิชาการทางวิศวกรรมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals และยังดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผน PDCA ด้วย
|
วัตถุประสงค์/Objective *:
|
1. เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับ อสม. ประชาชน และชุมชน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เทคนิคต่างๆด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ สู่ อสม. จังหวัดนครปฐม
3. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขโดยการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้เพื่อให้ อสม. สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (SDGs17)
5. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสู่การขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม
6. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดี ๆ กลับสังคม
|
วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:
|
2024-07-01
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:
|
ไทย
|
วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:
|
2024-07-01
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity / project location):
|
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม จ.นครปฐม
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:
|
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม จ.นครปฐม
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:
|
ภาควิชาวิศวกรรมชีวกรรมชีวการแพทย์
|
ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:
|
ผลกระทบด้านคน
ผลกระทบด้านคน
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Activity / project implementation model) *:
|
กิจกรรม / การบรรยาย
|
จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน) (Target / Activity country) *:
|
62 คน
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target / Activity group) *:
|
ผู้เข้าร่วมโครงการ “ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากเป้าผู้ที่เข้าร่วมโครงการ”
|
วันที่เริ่มนำไปใช้ *:
|
2024-07-02
|
ไฟล์เอกสาร
|
03122024145124_รูป_BME_ESR_โครงการเทคโนโลยีสุขภาพ_67.pdf
|
เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:
|
- https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/
- https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbe/
- FB:วิศวะมหิดลเพื่อสังคม
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ
|