ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการ “นวัตกรรมความปลอดภัยมลภาวะทางอากาศด้วยเทคโนโลยี IoT”


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการ “นวัตกรรมความปลอดภัยมลภาวะทางอากาศด้วยเทคโนโลยี IoT”

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

ด้วย ชุมชนอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีประวัติคุณภาพอากาศมีปริมาณสารมลพิษเกินค่ามาตรฐาน (มาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) อย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากร นักศึกษา ประชาชน และกระทบต่อภาพลักษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และผู้นำด้านเทคโนโลยีของประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม จึงได้จัดโครงการ “นวัตกรรมความปลอดภัยมลภาวะทางอากาศด้วยเทคโนโลยี IoT” ขึ้นเพื่อเฝ้าระวังมลภาวะทางอากาศเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับบุคลากร นักศึกษา และประชาชน ในพื้นที่คณะวิศวกรรมาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม หลายด้านด้งนี้ 1) ทำให้คณะเกิดความน่าเชื่อถือเรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพของบุคลากร นักศึกษา และประชาชน 2) เป็นจุดเฝ้าระวังค่าฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศมาตราฐานสากล 3) เป็นนโยบายด้านวิศวกรรมสีเขียวของคณะวิศวกรรมศาสตร์ 4) เป็นตัวอย่างการศึกษาให้กับนักศึกษาที่สนใจด้านนวัตกรรมที่สร้างจากวิศวกรคนไทย 5) เป็นจุดเริ่มต้นของการทดสอบนวัตกรรมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่อื่นต่อไป และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 5 การสร้างภาพลักษณ์และการส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อการแข่งขันระดับโลก และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 4 Excellence in management for sustainable organization ต่อไป

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพื่อให้คณะเกิดความน่าเชื่อถือเรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพของบุคลากร นักศึกษา และประชาชน 2. เพื่อเป็นจุดเฝ้าระวังค่าฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศมาตราฐานสากล 3. เพื่อเป็นนโยบายด้านวิศวกรรมสีเขียวของคณะวิศวกรรมศาสตร์ 4. เพื่อเป็นตัวอย่างการศึกษาให้กับนักศึกษาที่สนใจด้านนวัตกรรมที่สร้างจากวิศวกรคนไทย 5. เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการทดสอบนวัตกรรมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่อื่นต่อไป 6. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรและนักศึกษานำไปประยุกต์ใช้ได้จริง 7. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดีๆกลับสังคม

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2020-11-20

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2021-03-31

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

บริษัท สยามไอโอที จำกัด

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

45 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

1. ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการตรวจสอบค่าความปลอดภัยของฝุ่นละออง PM 2.5 2. มหาวิทยาลัยเป็นต้นแบบสามารถใช้นวัตกรรมเพื่อสุขภาพในการตรวจสอบค่าความปลอดภัยของฝุ่นละออง PM 2.5 บุคลากรและชุมชนมีสุขภาพดี 3. เกิดการสร้างเครือข่ายร่วมกันกับชุมชน บริษัท และมหาวิทยาลัย

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2021-04-01

ไฟล์เอกสาร

03022022101317_รูปภาพโครงการ IOT.pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

- เว็บไซด์/เพจ FB : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล - เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม - เว็บไซด์/เพจ มหาวิทยาลัยมหิดล - เว็บไซด์/เพจ พันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมทหิดล

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน