ชื่อโครงการ/Project Name:
|
โครงการ “การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนด้วยทักษะทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 4.0 PLUS”
|
ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:
|
สืบเนื่องจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) มุ่งพัฒนาการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล ข้อ 8.6 ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทุกช่วงวัย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และชุมชนในการพัฒนาคนให้นำประเทศสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) การจะขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมได้นั้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นคลังความรู้ของประเทศเพื่อนำนวัตกรรมการศึกษาตลอดจนความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรและเทคโนโลยีไปช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเน้นการพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนผ่านทางกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ด้วย โรงเรียนเป้าหมาย จำนวน 8 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดอินทาราม โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย โรงเรียนบ้านคลองสว่างอารมณ์ โรงเรียนวัดมะเกลือ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพระงาม โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ โรงเรียนเทศบาล 5 วัดพระปฐมเจดีย์ และโรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม ได้รับความอนุเคราะห์จากทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินการสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งทางด้านครูและนักเรียนด้านเทคโนโลยีศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์และศาสตร์ด้านอื่นๆเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับทางโรงเรียนมากที่สุดจนทำให้โรงเรียนได้รับการยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึงได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากทางโรงเรียนทั้ง 8 โรงเรียนข้างต้นยังขาดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีไปช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาศักยภาพทางด้านการสอนของครูให้มีศักยภาพด้านวิชาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิตและด้านคุณธรรมและจริยธรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ทางโรงเรียนทั้ง 8 โรงเรียน จึงขอให้ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมดำเนินการสนับสนุนกิจกรรมที่ทางโรงเรียนยังขาดและมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดการเรียนการสอนของครูและนักเรียนต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป ดังนี้
- ดำเนินการกิจกรรมการพัฒนาครูสู่ผู้เรียนด้วยกระบวนการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเน้นการพัฒนาครูเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพด้านวิชาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิตและด้านคุณธรรมและจริยธรรม จำนวน 5 กิจกรรม ดังนี้
1.1 กิจกรรมการสร้างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1.2 กิจกรรมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1.3 กิจกรรมการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และสะเต็มศึกษา
1.4 กิจกรรมการพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) /สิ่งแวดล้อมและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
1.5 กิจกรรมการแข่งขันฝึกปฎิบัติการด้านการสื่อสารด้วยระบบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ยั่งยืน
- ดำเนินการกิจกรรมการพัฒนาครูเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จำนวน 3 กิจกรรม
2.1 กิจกรรมครูร่วมคิด วางแผน และออกแบบบทเรียนโดยมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษา
2.2 กิจกรรมครูทดลองเรียนบทเรียนที่ออกแบบบทเรียนโดยมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษา
2.3 กิจกรรมประเมินผลการใช้แบบบทเรียนเบื้องต้นก่อนนำไปถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน
- ดำเนินการกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้จากครูสู่การพัฒนานักเรียนเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ จำนวน 3 กิจกรรม
3.1 กิจกรรมครูสอนนักเรียนโดยใช้การสอนที่ออกแบบโดยกิจกรรมที่ได้เรียนรู้จากมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษา
3.2 กิจกรรมประเมินผลการสอนของครู
3.3 กิจกรรมประเมินผลการเรียนของนักเรียน
มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศที่มีความเป็นเลิศและมีองค์ความรู้อันหลากหลาย มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีความพร้อมในการสนับสนุนกิจกรรมข้างต้นตามที่โรงเรียนทั้ง 8 โรงเรียนข้างต้นแสดงความประสงค์มา ซึ่งตรงกับนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการโดยการร่วมขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในรูปแบบของเครือข่ายภาคอุดมศึกษา โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีการจัดการเรียนการสอนและมีความเป็นเลิศในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์นำโดยหน่วยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมได้กำหนดนโยบายสำคัญที่มุ่งเน้นให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาได้มีโอกาสทำกิจกรรมจิตอาสาและเสียสละเพื่อส่วนรวม โครงการดังกล่าวจึงเกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งบุคลากรของคณะวิศวกรรมศาสตร์และโรงเรียนเป้าหมายซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2563-2566 ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและพันธกิจเพื่อสังคม เพื่อช่วยพัฒนาโรงเรียนให้ผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพเข้าสู่ภาคอุดมศึกษาและเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูงในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ของรัฐบาลอีกทางหนึ่งด้วย
|
วัตถุประสงค์/Objective *:
|
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูของโรงเรียนเป้าหมายเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการคิด วิเคราะห์ วางแผน และออกแบบบทเรียน เพื่อนำไปพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพด้านวิชาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิตและด้านคุณธรรมและจริยธรรม โดยการนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีไปช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
2. เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนเป้าหมาย และหน่วยงานอื่นๆของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมการเรียนการสอน คู่มือการเรียนรู้ และการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
3. เพื่อส่งเสริมประสบการณ์งานด้านรับใช้สังคมให้กับบุคลากรจิตอาสา
|
วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:
|
2021-07-01
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:
|
ไทย
|
วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:
|
2021-09-30
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity / project location):
|
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:
|
1. โรงเรียนวัดอินทราราม กทม.
2. โรงเรียนบ้านคลองสว่างอารมณ์
3. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม
4. โรงเรียนวัดมะเกลือ
5. โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์
6. โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์
7. โรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม
8. โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดพระงาม
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:
|
|
ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:
|
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Activity / project implementation model) *:
|
กิจกรรม / การบรรยาย
|
จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน) (Target / Activity country) *:
|
104 คน
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target / Activity group) *:
|
1. โรงเรียนมีชื่อเสียงได้รับการเผยแพร่เป็นที่ประจักษ์ทางช่องทางผ่านสื่อข่าวสารหนังสือพิมพ์ฉบับที่เกี่ยวข้องหรือช่องทางอื่นๆอย่างหลากหลาย อาทิเช่น หนังสือพิมพ์โพสทูเดย์ เดลินิวส์ FB เป็นต้น
2. ครูได้เพิ่มศักยภาพและเพิ่มผลงานทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น
3. นักเรียนมีผลการเรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง
4. ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในศักยภาพของโรงเรียนท้องถิ่น
5. ครูและนักเรียนมีศักยภาพเพิ่มขึ้น
6. เกิดการสร้างเครือข่ายร่วมกันกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
|
วันที่เริ่มนำไปใช้ *:
|
2021-10-01
|
ไฟล์เอกสาร
|
19012022094311_รูปภาพโครงการ STEM 64 (ESR).pdf
|
เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:
|
- เว็บไซด์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
- เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม
- เว็บไซด์/เพจ มหาวิทยาลัยมหิดล
- เว็บไซด์/เพจ พันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมทหิดล
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
|