ชื่อโครงการ/Project Name:
|
โครงการแนวทางการเพิ่มทักษะความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์เพื่อตอบสนองต่อผลลัพธ์การเรียนรู้
|
ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:
|
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันได้สร้างความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์เป็นอย่างมาก ด้วยความที่ศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ การปรับปรุงของหลักสูตรที่ใช้สร้างบุคลากรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ในส่วนของการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านสายการวิจัย การผลิตในอุตสาหกรรม งานทางบริการและเชิงพาณิชย์ ฯลฯ จึงต้องมีความทันสมัย พร้อมปรับตัวให้ทันกับโลกปัจจุบัน
แนวทางหนึ่งในการที่จะทำให้หลักสูตรมีความทันสมัยสามารถทำได้โดยการให้หลักสูตรนั้นได้ผ่านการรับรองคุณภาพจากองค์กรภายนอกที่ควบคุมดูแลมาตรฐานในสายวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นสภาวิชาชีพ เช่นสภาวิศวกร ซึ่งเป็นองค์กรในระดับประเทศ หรือผ่านการรับรองจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งก็มีหลายสถาบันเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ ABET [1] (Accreditation Board of Engineering and Technology) ซึ่งทำหน้าที่ในการให้การรับรองมาตรฐานหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการรับรองถึง 6 หลักสูตรเป็นแห่งแรกของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 และสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าก็เป็นหนึ่งในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ABET โดยที่ทางหลักสูตรยังคงต้องรักษามาตรฐานการศึกษาตามการประเมินอิงตัวชี้วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา (SO : Student Outcomes) [2] ของ ABET ระหว่างการรับรองนี้ตลอดช่วงระยะเวลาที่หลักสูตรได้รับการรับรอง (พ.ศ.2564 – พ.ศ.2569) ซึ่งต้องมีขบวนการแสดงให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (CQI : Continuous Quality Improvement) อยู่ตลอดเวลาในบทความนี้จะนำเสนอปัญหาหนึ่งที่พบในการทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาหรือ SO เกณฑ์หนึ่งในระบบของ ABET โดยเน้นไปในรายวิชาที่ผู้เขียนบทความได้ทำการวิเคราะห์จากชุดข้อมูลที่ใช้สอนจริงกับนักศึกษาจำนวน 4 รุ่น และเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อปรับปรุงคุณภาพตัวชี้วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาหรือ SO นั้นๆ ให้ดียิ่งขึ้น
|
วัตถุประสงค์/Objective *:
|
เพื่อนำเสนอแนวความคิดและขบวนการในการเพิ่มทักษะการใช้ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่เป็นรายวิชาที่ต้องเรียนก่อน (Pre-requisite courses) สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดล ในขั้นปีที่ 1 ก่อนที่จะเข้ามาเรียนวิชาในรหัส EGEE ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าในขั้นปีที่ 2 ซึ่งพบว่าความรู้พื้นฐานในกลุ่มวิชาดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการเน้นเรื่องความรู้ ความเข้าใจให้นักศึกษามีความสามารถที่จะประยุกต์และปรับใช้ให้เข้ากันได้กับรายวิชาของวิศวกรรมไฟฟ้าที่เรียนต่อเนื่องในชั้นปีที่สูงขึ้น และเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพหลักสูตรแบบ ABET (Accreditation Board of Engineering and Technology) ที่เป็นหนึ่งในการประเมินอิงผลลัพธ์การเรียนรู้ทางการศึกษามาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน
|
วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:
|
2024-08-01
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:
|
ไทย
|
วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:
|
2024-09-27
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity / project location):
|
- การประชุมวิชาการ วิศวการศึกษา ครั้งที่ 20
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
- ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:
|
- การประชุมวิชาการ วิศวการศึกษา ครั้งที่ 20
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:
|
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
|
ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:
|
ผลกระทบด้านคน
ผลกระทบด้านคน
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Activity / project implementation model) *:
|
การประชุม / การสัมมนา
|
จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน) (Target / Activity country) *:
|
200 คน
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target / Activity group) *:
|
- ผลงานบทความทางวิชาการระดับชาติ
|
วันที่เริ่มนำไปใช้ *:
|
2024-09-28
|
ไฟล์เอกสาร
|
27012025135844_Peper_EE_NCEE12_แนวทางการเพิ่มทักษะความรู้พื้นฐานทางว.pdf
|
เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:
|
- การประชุมวิชาการ วิศวการศึกษา ครั้งที่ 20
- https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/
- https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egee/
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ
|