ชื่อโครงการ/Project Name:
|
โครงการ “ยกระดับความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล”
|
ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:
|
ตามที่รัฐบาลได้นำการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลัก และกำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ บนหลักการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพตนเอง และเพื่อนบ้าน ในรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขหรือ อสม. เพื่อเป็นแกนนำด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชน มาเป็นระยะเวลาครบ 30 ปี ด้วยมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกและศรัทธาในการพัฒนาอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพอย่างยั่งยืนที่แท้จริง
กระทรวงสาธารณสุขได้มีการพัฒนาศักยภาพ อสม.อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งภาวะวิกฤติและภาวะปกติ ในหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์ ภายหลังการอบรม ในปี 2552 ซึ่งกำลังจะก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ทศวรรษที่ 4 ของงานสาธารณสุขมูลฐาน อันเป็นทศวรรษแห่งการสร้างนวัตกรรมเพื่อสุขภาพชุมชนโดยชุมชน กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขด้วยการดำเนินการอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม. โดยมุ่งหวัง ว่าหาก อสม.ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นกลไกหลักสำหรับสร้างสังคมใหม่ที่มีคุณภาพ โดยเบนเข็ม การพัฒนาอาสาสมัครจากวิถีการให้บริการที่ใช้อยู่ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ไปเป็นวิถีการพัฒนาโดยการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีกว่า
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชนด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของ อสม. ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อสม. ในทุกหมู่บ้านให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการและประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งปัจจุบันทาง อสม. จังหวัดนครปฐม มีนโยบายส่งเสริมด้านสาธารณสุขและสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสนับสนุนและพัฒนาทางด้านสุขภาพให้กับ อสม. จังหวัดนครปฐม ในการนำไปพัฒนาต่อยอด ส่งเสริม ประยุกต์ และพัฒนาสุขภาพให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยยิ่งขึ้นต่อไป จากสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะเฉพาะทางในด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในหัวข้อเรื่อง“เทคโนโลยีในการตรวจโรคหัวใจและการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ” และ หัวข้อเรื่อง “ศาสตร์และศิลป์แห่งการนอนหลับ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ยั่งยืนในชุมชน” ซึ่งขณะนี้ทางการแพทย์เกี่ยวกับในเรื่องดังกล่าวทาง อสม. สังกัดจังหวัดนครปฐมยังขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะที่จะนำมาสู่กระบวนการนำไปพัฒนาต่อยอด ส่งเสริม ประยุกต์ และพัฒนาทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยยิ่งขึ้น โดยการนำความรู้จากการอบรมในครั้งนี้ไปพัฒนาและดูแลสุขภาพกับประชาชนในหมู่บ้าน และชุมชน ให้สามารถเข้าสู่การปฏิบัติจริงได้เป็นอย่างดี
จากปัญหาดังกล่าวทางหน่วยวิศวกรรมฯจึงเห็นว่าการอบรมถ่ายทอดความรู้ในเรื่องดังกล่าวให้กับ อสม. สังกัดจังหวัดนครปฐมเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทางสุขภาพ ชุมชน และสังคม คือ 1) อสม. ได้รับความรู้ และทักษะในด้านการนำเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพเข้ามาสนับสนุนสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) อสม. ได้สนับสนุนการนำเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพให้กับประชาชน และชุมชน ในทางการแพทย์ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัย เกิดทักษะ และเพิ่มมาตรฐานด้านสาธารณสุขที่ดีได้อย่างยั่งยืน 3) อสม. มีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพที่แข็งแรง อายุยืนมีประสิทธิภาพ 4) อสม. ได้รับความรู้ ทักษะ และนำไปเป็นช่องทางการรักษาสุขภาพให้ดีและแข็งแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นได้ และส่งผลให้ประชาชน และชุมชนมีทักษะในการดูแลสุขภาพโดยการใช้เทคโนโลยีในการใช้งานจริงร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ 5) ชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนที่มีประชาชนที่มีสุขภาพดีอย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย 6) อสม. ได้รับการยกระดับมาตรฐานด้านสุขภาพดี แข็งแรง และอายุยืนของจังหวัดนครปฐม และ 7) อสม. มีการสร้างฐานด้านสุขภาพดี แข็งแรง และอายุยืนที่ดีเพิ่มขึ้น
ในการนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับ อสม. ประชาชน และชุมชน ซึ่งเป็นกำลังหลักของประเทศ จึงได้จัดโครงการ “ยกระดับความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” ขึ้น เพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดความรู้ และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรจิตอาสาในการปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ให้กับ อสม. ประชาชน และชุมชน นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและบริการวิชาการทางวิศวกรรมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals และยังดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผน PDCA ด้วย
|
วัตถุประสงค์/Objective *:
|
1. เพื่อส่งเสริมบุคลากร และนักศึกษาจิตอาสาที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เทคนิคต่างๆ สู่ อสม. จังหวัดนครปฐม
2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ให้กับ อสม.จังหวัดนครปฐม
3. เพื่อส่งเสริมให้ อสม. มีโอกาสเรียนรู้ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายโดยการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาประยุกต์ใช้งานได้จริง
4. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขโดยการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้เพื่อให้ อสม. สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อส่งเสริมให้ อสม. ที่ได้รับการพัฒนาการรักษาพยาบาลโดยการใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น ไปคัดกรองผู้ป่วย และสามารถ ดำเนินงานสุขภาพชุมชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทุกแห่งได้อย่างเข้มแข็ง
6. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (SDGs17)
7. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสู่การขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม
8. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดีๆกลับสังคม
|
วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:
|
2024-06-04
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:
|
ไทย
|
วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:
|
2024-07-01
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity / project location):
|
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม จ.นครปฐม
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:
|
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม จ.นครปฐม
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:
|
หน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม
|
ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:
|
ผลกระทบด้านคน
ผลกระทบด้านคน
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Activity / project implementation model) *:
|
กิจกรรม / การบรรยาย
|
จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน) (Target / Activity country) *:
|
75 คน
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target / Activity group) *:
|
1. อสม. จังหวัดนครปฐม และ อบต.ดอนยายหอม ได้รับคู่มือ” จำนวน 1 เล่ม
2. อสม.จังหวัดนครปฐม และ อบต.ดอนยายหอมได้รับความรู้ และทักษะในด้านการนำเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพเข้ามาสนับสนุนสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. อสม.จังหวัดนครปฐม และ อบต.ดอนยายหอม ได้สนับสนุนการนำเทคโนโลยีส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชน และชุมชนทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านสุขภาพที่ทันสมัย เกิดทักษะ และเพิ่มมาตรฐานการดูแลสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน
4. อสม.จังหวัดนครปฐม และ อบต.ดอนยายหอม มีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพอย่างยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ
5. อสม.จังหวัดนครปฐม และ อบต.ดอนยายหอมได้รับความรู้ ทักษะ และนำไปเป็นช่องทางการพัฒนาสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้ และส่งผลให้ประชาชน และชุมชนมีทักษะในการนำเทคโนโลยีมาใช้งานจริงร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
6. ชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนที่มี อสม.มีประสิทธิภาพและทันสมัย
7. อสม.และ อบต. ได้รับการยกระดับมาตรฐานด้านสุขภาพ แข็งแรง และอายุยืนของจังหวัดนครปฐม
8. อสม. และ อบต. มีการสร้างฐานด้านสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น
9. คณะวิศวกรรมศาสตร์/อสม./อบต.ดอนยายหอม จ.นครปฐม เกิดความร่วมมือในการสร้างโครงการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยื่น SDGs17. บุคลากรคณะฯได้รับการพัฒนาศักยภาพและได้ร่วมกิจกรรมจิตอาสางานด้านบริการวิชาการรับใช้สังคม
10. คณะและมหาวิทยาลัยได้สร้างผลงานด้านบริการวิชาการรับใช้สังคมเพิ่มขึ้น
11. คณะและมหาวิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายระหว่าง อสม./อบต. ดอนยายหอม/ชุมชนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย
|
วันที่เริ่มนำไปใช้ *:
|
2024-07-02
|
ไฟล์เอกสาร
|
31032025143112_รูปภาพโครงการยกระดับความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพด้วยเทคโนโลยี.pdf
|
เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:
|
- https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/
- FB: วิศวะมหิดลเพื่อสังคม
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ
|