ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการ “การพัฒนานวัตกรรม EV สู่ช่างชุมชนภาคตะวันออก”


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการ “การพัฒนานวัตกรรม EV สู่ช่างชุมชนภาคตะวันออก”

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

ด้วยรัฐบาลมีนโยบายด้านพลังงาน ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วน คือ การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการราคาพลังงานทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในทันที นอกจากนี้ รัฐบาลจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ โดยวางแผนความต้องการและสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเร่งเจรจาการใช้พลังงานในพื้นที่อ้างสิทธิกับประเทศข้างเคียงและสำรวจแหล่งพลังงานเพิ่มเติม รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ภายใต้กลไกตลาด เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยจะมีความมั่นคงทางพลังงานที่จะขับเคลื่อนประเทศต่อไป ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนและยกระดับคุณภาพชีวิตของช่างชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์กับการพัฒนาทักษะด้านการช่าง เพื่อลดต้นทุนการผลิต ขยายโอกาสสู่การสร้างอาชีพ และการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โครงการนี้จึงนำร่องการพัฒนาความรู้และเสริมทักษะการนำร่องสู่ช่างชุมชนภาคตะวันออก สำหรับเป็นช่างชุมชนต้นแบบภาคตะวันออกในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่อไป คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม ให้เกิดความรู้ ทักษะ และการสร้างอาชีพให้กับช่างชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไป อาทิเช่น สถาบันการศึกษา อู่ซ่อมต่างๆ นักเรียน นักศึกษา เกี่ยวกับ เรื่อง จักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง รวมถึงการซ่อมแซมรถไฟฟ้า โดยให้ความสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ต่อยอดไปจนถึงการสร้างอาชีพได้ในอนาคต ในหัวข้อเรื่อง “การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนานวัตกรรม EV. สู่งช่างชุมชนภาคตะวันออก”” ซึ่งขณะนี้การศึกษาในเรื่องดังกล่าวทางช่างชุมชนยังขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะที่จะนำมาสู่กระบวนการเรียนการสอนกับช่างชุมชนภาคตะวันออกให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างยั่งยืน โดยการนำความรู้จากการฝึกอบรมในครั้งนี้ไปพัฒนาช่างชุมชน นักศึกษา นักเรียน และผู้ที่สนใจทั่วไป ให้สามารถเข้าสู่การเรียนรู้ภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษานาชั้นนำเป็นระยะเวลาหนึ่งหลักสูตรได้เป็นอย่างดี จากปัญหาดังกล่าวทางหน่วยวิศวกรรมฯจึงเห็นว่าการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องดังกล่าวร่วมกับทางบริษัทฯให้กับช่างชุมชน นักศึกษา นักเรียน และผู้ที่สนใจทั่วไป เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทางบริษัทฯ ชุมชน และสังคม คือ 1) ช่างชุมชนภาคตะวันออกได้รับความรู้ และทักษะในด้านเรียนการสอนทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) คณะ/มหาวิทยาลัย/บริษัทได้สนับสนุนการสร้างอาชีพ การศึกษาของช่างชุมชน นักศึกษา นักเรียน และผู้ที่สนใจทั่วไป ทำให้ชุมชน และสังคมเกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัย เกิดทักษะ และเพิ่มมาตรฐานการเรียนรู้ที่ดีได้อย่างยั่งยืน 3) คณะ/มหาวิทยาลัย/บริษัทมีแผนการเรียน การสอน การสร้างอาชีพ สู่สังคมที่มีประสิทธิภาพ 4) ช่างชุมชน นักศึกษา นักเรียน และผู้ที่สนใจทั่วไป ได้รับความรู้ ทักษะ และนำไปเป็นช่องทางการพัฒนาการเรียน การสร้างอาชีพ และยกระดับพื้นฐานการสร้างครอบครัว ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้ และส่งผลให้นักศึกษา และนักเรียนมีงานทำจากประสบการณ์ที่เข้าร่วมอบรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และประกอบอาชีพส่วนตัว 5) ชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนที่มีศักยภาพด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีงานทำ ได้อย่างประสิทธิภาพและทันสมัย 6) คณะ/มหาวิทยาลัย/บริษัทได้รับการยกระดับมาตรฐานการศึกษาเชิงทักษะของจังหวัดนครปฐม และ 7) คณะ/มหาวิทยาลัย/บริษัท/ชุมชน มีการสร้างฐานการศึกษา และการมีงานทำที่ดีเพิ่มขึ้น ในการนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับภาคเอกชน โรงเรียน และชุมชน ซึ่งเป็นกำลังหลักของประเทศ จึงได้จัดโครงการ “การพัฒนานวัตกรรม EV สู่ช่างชุมชนภาคตะวันออก” ขึ้น เพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดความรู้ และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรจิตอาสาในการปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ให้กับภาคเอกชน ช่างชุมชนภาคตะวันออก นักศึกษา และชุมชน นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 3 การบริการวิชาการเพื่อความยั่งยืน และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals และยังดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผน PDCA ด้วย

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพื่อส่งเสริมบุคลากร และนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เทคนิคต่างๆ สู่ช่างชุมชนภาคตะวันออก 2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะความชำนาญในวิชาชีพให้กับช่างชุมชนภาคตะวันออก 3. เพื่อให้ช่างชุมชนมีความรู้และทักษะ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม EV. สู่ช่างชุมชนภาคตะวันออกโดยการนำพลังงานทดแทนมาช่วยลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน และนำไปปฏิบัติได้จริง ต่อยอดไปจนถึงการสร้างอาชีพในอนาคต 4. เพื่อส่งมอบหลักสูตร “การพัฒนานวัตกรรม EV สู่ช่างชุมชนภาคตะวันออก” 5. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (SDGs17) 6. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสู่การขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม 7. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดีๆกลับสังคม

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2024-06-01

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2024-08-24

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

บริษัท ลิงค์เทค (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท สมาร์ทไลฟ์อินโนเวชั่น จำกัด จ.นครปฐม.

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

หน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:

ผลกระทบด้านคน


ผลกระทบด้านคน

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

40 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

1) ช่างชุมชนได้หลักสูตร เรื่อง “การพัฒนานวัตกรรม EV สู่ช่างชุมชนภาคตะวันออก” จำนวน 1 หลักสูตร 1) ช่างชุมชนได้รับความรู้ และทักษะในด้านช่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ช่างชุมชนได้พัฒนาความรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัย เกิดทักษะ และเพิ่มมาตรฐานด้านช่างได้อย่างยั่งยืน 3) ช่างชุมชนมีแผนการสร้างอาชีพและขยายโอกาสสู่ช่างชุมชนโดยรอบชุมชนข้างเคียง 4) ช่างชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นช่างตัวอย่างที่ทันสมัย 5) ช่างชุมชนได้รับโอกาสเรียนรู้ที่ยกระดับมาตรฐานเชิงทักษะของตำบ อำเภอ และจังหวัดนครปฐม 6) บุคลากรคณะฯได้รับการพัฒนาศักยภาพและได้ร่วมกิจกรรมจิตอาสางานด้านบริการวิชาการรับใช้สังคม 7. คณะและมหาวิทยาลัยได้สร้างผลงานด้านบริการวิชาการรับใช้สังคมเพิ่มขึ้น 8. คณะและมหาวิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายระหว่างช่างชุมชนภาคตะวันออก และภาคเอกชน

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2024-08-25

ไฟล์เอกสาร

31032025154118_รูปภาพโครงการการพัฒนานวัตกรรม EV สู่ช่างชุมชนภาคตะวันออก.pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

- https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/ - FB: วิศวะมหิดลเพื่อสังคม

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 7: สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเย

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน