ชื่อโครงการ/Project Name:
|
โครงการWorkshop: เตรียมพอร์ต...ตอบสัมภาษณ์...สู่ว่าที่วิศวะมหิดล
|
ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:
|
ด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีกำหนดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2565 ในระบบ TCAS (Thai University Center Admission System) ในระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2565 โดยมีทั้งหมด 5 รอบ ประกอบด้วย รอบที่ 1 Portfolio รอบที่ 2 Quota รอบที่ 3 Admission รอบที่ 4 รับตรงอิสระ และรอบที่ 5 รับตรงโดยคณะฯ ซึ่งการสมัครในรอบที่ 1 Portfolio ผู้สมัครจำเป็นต้องจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน เพื่อให้คณะกรรมพิจารณา และทุกรอบของการสมัคร TCAS ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการสัมภาษณ์ โดยมีนักเรียนผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อมีการติดต่อสอบถามรายละเอียดเป็นจำนวนมากในหลากหลายช่องทางการสื่อสารของคณะฯ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการให้ข้อมูล สร้างความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนให้เทคนิค แนะนำแนวทางในการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน และการเตรียมตัวเข้ารับการสัมภาษณ์ งานสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เล็งเห็นว่าการจัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติ Workshop: เตรียมพอร์ต ตอบสัมภาษณ์...สู่ว่าที่วิศวะมหิดล จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งถือเป็นกลุ่มลูกค้าในอนาคต ที่จะได้ทำความรู้จักกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ แบบเจาะลึก เป็นอีกหนึ่งช่องทางการประชาสัมพันธ์ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการรับนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน พร้อมทั้งได้เปิดประสบการณ์ การเรียนรู้ทักษะพื้นฐานในการออกแบบแฟ้มสะสมผลงาน การเตรียมตัวสะสมผลงาน รวมทั้งการเตรียมตัวสำหรับตอบคำถามในการเข้ารับการสัมภาษณ์ ดังนั้น การจัดโครงการ Workshop: เตรียมพอร์ต...ตอบสัมภาษณ์...สู่ว่าที่วิศวะมหิดล จะทำให้นักเรียนมีความพร้อมในการสมัคร TCAS ในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งได้มีโอกาสสัมผัสกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สร้างความประทับใจให้กับนักเรียน สร้างภาพลักษณ์ที่ดี อันนำไปสู่การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่ออีกด้วย
|
วัตถุประสงค์/Objective *:
|
1. เพื่อแนะนำการออกแบบและจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน
2. เพื่อเป็นเวทีให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการตอบคำถามสัมภาษณ์
3. เพื่อแนะนำระบบการรับนักศึกษา ในแต่ละสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน
4. เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ และภาพลักษณ์ ให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอก
|
วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:
|
2021-10-08
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:
|
ไทย
|
วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:
|
2021-10-28
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity / project location):
|
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ในรูปแบบ On-Site และ รูปแบบ Online
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:
|
โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของรัฐบาลและเอกชน ดูรายชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้ที่ httpsdocs.google.comspreadsheetsd1jCIG5GPyow9VJziW0woEH8MgG6Txvv7AjfMqg6bpYedituspsharing
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:
|
|
ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:
|
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Activity / project implementation model) *:
|
กิจกรรม / การบรรยาย
|
จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน) (Target / Activity country) *:
|
70 คน
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target / Activity group) *:
|
1. สร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษาร่วมกับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
2. จัดค่ายพัฒนานักเรียนร่วมกันแบ่งเป็นภูมิภาพเพื่อสร้างความเท่าเที่ยมทางการศึกษา
3. บูรณาการร่วมกันหลายๆศาสตร์กับองค์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุด
4. สร้างการวิจัยและบริการวิชาการร่วมกันเพื่อการพัฒนาต่อยอดระหว่างโรงเรียน และชุมชน
5. สร้างหลักสูตรการบูรณาการศาสตร์วิศวกรรมร่วมกับโรงเรียนเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21
|
วันที่เริ่มนำไปใช้ *:
|
2021-10-28
|
ไฟล์เอกสาร
|
08122022100204_รายงานผลโครงการ Workshop-2-ส่ง.pdf
08122022100204_รูปภาพโครงการ Workshop.pdf
|
เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:
|
https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/
เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ
|