ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการฝึกอบรม เรื่อง “ประสบการณ์การก่อสร้างงานเขื่อนป้องกันตลิ่งภายในประเทศ และเทคนิคการก่อสร้างอาคารสูง”


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการฝึกอบรม เรื่อง “ประสบการณ์การก่อสร้างงานเขื่อนป้องกันตลิ่งภายในประเทศ และเทคนิคการก่อสร้างอาคารสูง”

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

ภารกิจสําคัญประการหนึ่งของวิศวกรมโยธา ที่ได้ดําเนินการมายาวนานและเป็นประจําทุกปีคือการสํารวจออกแบบ และก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังในแม่น้ํา และลําคลองสาธารณะ โดยนับวันจะมีเรื่องราวร้องทุกข์ขอให้หน่วยงานราชการดําเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจํานวนมากขึ้นทุกปีโดยงานในส่วนนี้อยู่ในความรับผิดชอบของวิศวกรรมโยธา ซึ่งที่ผ่านมาประสบปัญหาการดําเนินงานประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างที่ล่าช้า อันเนื่องจากการสํารวจและออกแบบไม่เป็นไปตามแผนงานจัดจ้างเป็นสาเหตุสําคัญ เพราะจํานวนบุคลากรที่รับผิดชอบไม่สอดคล้องกับปริมาณงานที่ต้องสํารวจออกแบบ ประกอบกับการออกแบบต้องมีการคํานวณและวิเคราะห์โครงสร้างที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ตามรายละเอียดข้อมูลและกายภาพของพื้นที่นั้นๆ ส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานในภาพรวมของกรมฯ และการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน แนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวระยะยาว ควรมีการศึกษาและเผยแพร่แบบมาตรฐานเขื่อนป้องกัน ตลิ่งพัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุการวิบัติของเขื่อนป้องกันตลิ่งพังที่กรมฯ ได้ดําเนินการผ่านมา อีกทั้งศึกษาปัจจัยที่ทําให้เขื่อนป้องกันตลิ่งพังที่กรมฯ ได้ดําเนินการผ่านมา มีเสถียรภาพและคงอยู่ได้อย่างสมดุล และจัดทําแบบมาตรฐานเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง โดยใช้ปัจจัยต่างๆ ในการออกแบบเป็นกรอบ กําหนดการจัดทํา เช่น ความกว้างของแม่น้ํา ความสูงของตลิ่ง คุณสมบัติสภาพชั้นดิน ความเร็วกระแสน้ํา และข้อ กฎหมายที่บังคับ เป็นต้น พร้อมทั้งจัดทําโปรแกรมฐานข้อมูลสําหรับเรียกใช้แบบมาตรฐานดังกล่าว ทั้งนี้ผลที่คาด ว่าจะได้รับจากการดําเนินงาน ทําให้วิศวกรทั่วไป ได้ทราบแบบมาตรฐาน รายการคํานวณ รายการประกอบแบบ ราคากลาง เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง และโปรแกรมฐานข้อมูลสําหรับเรียกใช้เอกสารต่างๆไว้ใช้ในประโยชน์ต่อไป

วัตถุประสงค์/Objective *:

1) เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถทางด้านก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน ให้แก่บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจจนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในด้านต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ได้ 2) เพื่อจัดทำหลักสูตรที่มีเนื้อหาและเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้จริง

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2024-02-19

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2024-02-19

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

จัดการอบรมแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Conference

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

ศิษย์เก่าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม…ผู้รับเหมาก่อสร้าง วิศวกรโยธา

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ


ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

50 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

การอบรมหลักสูตร Artificial Intelligence for All

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2024-02-20

ไฟล์เอกสาร

27012025144441_CE_SDGs_แบบบันทึกข้อมูล Mahidol Social Engagement (MUEG_New_67)-CE.pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

- https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/ - https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egce/th/

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน