ชื่อโครงการ/Project Name:
|
โครงการ "ผนึกพลัง เอไอเอส พัฒนา UVC Moving CoBot หุ่นยนต์สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส...สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ มุ่งฟื้นชีวิต-เศรษฐกิจไทย ตอบรับการเปิดประเทศ"
|
ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:
|
ทั่วโลกมียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมกว่า 127 ล้านคนแล้ว โดยในประเทศไทยพบการแพร่ระบาดคลัสเตอร์ใหม่เป็นระยะและมีการควบคุมอย่างไม่ลดละ รัฐบาลและคนไทยกำลังเตรียมตัวเปิดประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกพลังความร่วมมือกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด มหาชน (เอไอเอส) เผยต้นแบบนวัตกรรม UVC Moving CoBot ระบบหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบเคลื่อนที่ มีมือจับฉายรังสี UV-C แบบเคลื่อนที่ (Moving UV-C Radiation Source) สามารถฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ถึง 99.99 % โดยสามารถควบคุมระยะห่าง กำหนดความเร็วได้อย่างแม่นยำเพื่อให้มีประสิทธิภาพและทั่วถึง ใช้ 5G ควบคุมระยะไกลและเชื่อมต่อประมวลผลผ่าน IoT คาดใช้เวลา 6 เดือนพัฒนาจากต้นแบบสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ในอนาคต มุ่งสร้างพื้นที่ปลอดไวรัสให้ธุรกิจเอสเอ็มอีและเศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ พร้อมรับมือการแพร่ COVID-19 ระลอกใหม่ และตอบรับการเปิดประเทศ โดยนวัตกรรมนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้ว
นวัตกรรมต้นแบบถูกพัฒนาเพื่อประโยชน์ต่อคนไทยและเศรษฐกิจไทยโดยรวม มุ่งตอบโจทย์ทำอย่างไรจึงจะสร้างพื้นที่ปลอดไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง ฆ่าเชื้อไวรัสและเชื้อโรคได้อย่างมั่นใจและทั่วถึง ตลอดจนทำงานอัตโนมัติแทนมนุษย์ได้ 24 ชม.เพื่อให้คนไทยรับมือกับ Next Normal และโควิด-19 ระลอกใหม่หรือสายพันธุ์ใหม่ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ โดยรัฐบาลมีโรดแมปเปิดประเทศไทย จะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 2 (เม.ย. - มิ.ย. 64) เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ได้รับวัคซีนแล้ว เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวหลัก เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา เกาะสมุย พัทยา และเชียงใหม่ โดยต้องกักตัวในโรงแรมเป็นเวลา 7 วัน , ไตรมาส 3 (ก.ค. - ก.ย. 64) นำร่องที่จ.ภูเก็ต จะไม่มีการกักตัว นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบโดส สามารถบินตรงเข้าสนามบินภูเก็ต และตรวจเชื้อเมื่อเดินทางมาถึง โดยไม่ต้องกักตัวและต้องอยู่ใน จ.ภูเก็ตอย่างน้อย 7 วัน ก่อนเดินทางไปที่อื่น ๆ และใช้มาตรการป้องกันควบคู่กับ Vaccine Certificate และแอปพลิเคชั่นติดตามตัว , ส่วนไตรมาส 4 (ต.ค. - ธ.ค. 64) เพิ่มพื้นที่นำร่อง กระบี่ พังงา เกาะสมุย พัทยา และเชียงใหม่ , คาดว่าเดือนมกราคม 2565 ความหวังเปิดทั้งประเทศที่คนไทยรอคอยจะเป็นจริง
|
วัตถุประสงค์/Objective *:
|
1. เพื่อผนึกพลัง เอไอเส พัฒนา UVC Moving Cobot หุ่นยนต์สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ มุ่งฟื้นชีวิตเศรษฐกิจไทยตอบรับการเปิดประเทศ
2. เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยตอบรับการเปิดประเทศแบบปลอดไวรัส
3. เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม UVC Moving CoBot ระบบหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบเคลื่อนที่
4. เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดไวรัสให้ธุรกิจเอสเอ็มอีและเศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไป
|
วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:
|
2021-03-01
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:
|
ไทย
|
วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:
|
2021-04-02
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity / project location):
|
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:
|
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด มหาชน (เอไอเอส)
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:
|
|
ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:
|
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Activity / project implementation model) *:
|
กิจกรรม / การบรรยาย
|
จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน) (Target / Activity country) *:
|
30 คน
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target / Activity group) *:
|
1. พื้นที่นำร่องได้รับการยกระดับความปลอดภัยและได้รับชื่อเสียงและความเชื่อมั่นจากประชาชน
2. ชุมชนได้รับการรักษาด้วยความปลอดภัย
3. พื้นที่นำร่องและประชาชนมีสุขภาพดี
คนไทยมีความมั่นคงทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศ
4. เกิดการสร้างเครือข่ายร่วมกันกับโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัย
|
วันที่เริ่มนำไปใช้ *:
|
2021-04-03
|
ไฟล์เอกสาร
|
03022022091428_รูปภาพโครงการผนึกพลัง เอไอเอส (IE).pdf
|
เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:
|
- เว็บไซด์/เพจ FB : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
- เว็บไซด์/เพจ ภาควิชา IE : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
- เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
|