ชื่อโครงการ/Project Name:
|
โครงการ "การพัฒนาและนำอุปกรณ์ IoT เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วิถี Smart Farm กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม"
|
ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:
|
จากการริเริ่มโครงการ “Smart Farm เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเสริมความแกร่งเกษตรกรไทย” โดยเป็นโครงการหนึ่งของกิจกรรมในงานบริการวิชาการและขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีเป้าหมายการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร และผลงานนี้นั้นสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มอื่นเช่นบริเวณข้างเคียงสามารถเข้าถึงและดูการทำงานได้ ผลงานที่พัฒนาขึ้นนี้จะใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในประเทศไทยและใช้งบประมาณต่ำเพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงได้ และเป็นประโยชน์สอดคล้องตามความต้องการของกิจกรรมนั้นๆ ของเกษตรกร กรณีนี้ทางผู้ทำวิจัยได้กลุ่มเป้าหมาย คือ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีความต้องการเทคโนโลยีที่มาช่วยในการบริหารจัดการการดำเนินงานในแปลงเกษตรของตนเพื่อให้ได้ประสิทธิผล โดยขอให้ริเริ่มระบบ Smart Farm จำนวน 3 แปลง ในการควบคุมการสูบน้ำ และกระจายการให้น้ำใน 3 แปลงนี้ และมีการบันทึกข้อมูลด้านการ เปิด-ปิด วาล์วน้ำ รวมทั้งอุณหภูมิ และความชื้นหน้าแปลงเพื่อเก็บบันทึกแบบอัตโนมัติสำหรับมาตรฐาน GAP [1] ในงานวิจัยนี้ได้ร่วมกันพัฒนาตู้ควบคุมที่ใช้หลักการ IoT (Internet of Things) ซึ่งสามารถแสดงผล และควบคุมปั้มน้ำ และการ เปิด-ปิด ของวาล์วน้ำไฟฟ้า รวมทั้งเซ็นเซอร์อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์บริเวณแปลงเกษตร และมีการบันทึกข้อมูลการทำงานการเปลี่ยนแปลงสถานะต่างๆ ของแปลงลงยัง Spreadsheet ที่เก็บเป็นไฟล์บน Cloud (Google Sheet)
|
วัตถุประสงค์/Objective *:
|
การพัฒนาอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) สำหรับงานทางการเกษตรเพื่อการควบคุมระบบการส่งน้ำให้แปลงเกษตรหลายแปลงผ่านการควบคุมวาล์วน้ำไฟฟ้าหลายจุดและแสดงค่าสถานะของระบบและควบคุมผ่าน Smart Phone
|
วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:
|
2024-03-01
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:
|
ไทย
|
วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:
|
2024-07-31
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity / project location):
|
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
- วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยง จ.นครปฐม
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:
|
- หน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม
- วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยง จ.นครปฐม
- เกษตรอำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม
- เกษตรจังหวัดนครปฐม
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:
|
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม
|
ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:
|
ผลกระทบด้านคน
ผลกระทบด้านคน
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Activity / project implementation model) *:
|
กิจกรรม / การบรรยาย
|
จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน) (Target / Activity country) *:
|
50 คน
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target / Activity group) *:
|
พัฒนาอุปกรณ์นี้นำไปติดตั้งที่แปลงเกษตรอินทรีย์และอบรมการใช้งานแก่เกษตรกรเพื่อใช้งานควบคุมการ เปิด-ปิด วาล์วน้ำได้จำนวน 4 วงจร และมีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์หน้าแปลงเกษตรและสื่อสารผ่านโปรโตคอล MQTT เพื่อนำแสดงขึ้นบน Smart Phone และสามารถสั่งการควบคุมวาล์วได้อิสระจาก Smart Phone อุปกรณ์ดังกล่าวได้ถูกออกแบบเป็นลักษณะกล่องใส สามารถมองเห็นแผงวงจรต่างๆ ให้เห็นการทำงานพร้อมหน้าจอแสดงผลขนาดใหญ่ เพื่อจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในการสร้างความเข้าใจในระบบ Smart Farm เบื้องต้น ซึ่งอุปกรณ์นี้ได้ติดตั้งบริเวณที่เกษตรกรและบุคคลที่สนใจเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้ มีการมาศึกษาดูงานจากหลายหน่วยงาน อาทิ เกษตรอำเภอพุทธมณฑล เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม และเกษตรจังหวัดนครปฐม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย SDG 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
|
วันที่เริ่มนำไปใช้ *:
|
2024-08-01
|
ไฟล์เอกสาร
|
27012025105940_Smart Farm Learning Site MU_Ok..pdf
|
เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:
|
- การประชุมวิชาการระดับชาติ วิศวการศึกษา ครั้งที่ 20
- FB:วิศวะมหิดลเพื่อสังคม
- https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/
- https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egee/
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
|