ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการ “ค่ายเยาวชนพัฒนาศักยภาพวิศวกรน้อยสู่อาเซียน รุ่นที่ 1”


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการ “ค่ายเยาวชนพัฒนาศักยภาพวิศวกรน้อยสู่อาเซียน รุ่นที่ 1”

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

ด้วยนโยบายคณะวิศวกรรมศาสตร์ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นนโยบายที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกิจกรรมทางสังคม โดยองค์ประกอบที่สำคัญคือ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในยุค 4.0 จำเป็นต้องนำประโยชน์ด้านวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต และสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน เพื่อขยายความเข้มแข็งด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจระดับชุมชนมากขึ้น นั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับชุมชน และเยาวชนซึ่งเป็นกำลังหลักของประเทศ จึงได้จัดโครงการ “ค่ายเยาวชนพัฒนาศักยภาพวิศวกรน้อยสู่อาเซียน รุ่นที่ 1” ขึ้น เพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดความรู้ และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรจิตอาสาในการปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้และฝึกทักษะให้กับนักเรียนจากทุกโรงเรียนที่มาจากโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับนักเรียนและโรงเรียนต่อไป และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและบริการวิชาการทางวิศวกรรมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 4 Management For Self-Sufficiency and Sustainable Organization

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพื่อฝึกทักษะให้กับบุคลากรนักศึกษาจิตอาสา 2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง 3. เพื่อพัฒนาผลการทดสอบการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 16 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 13 ให้สูงขึ้น 4. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดีๆกลับสังคม

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2021-04-01

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2021-05-14

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

มูลนิธิธรรมสภา บันลือธรรม กทม.

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

1. มูลนิธิธรรมสภา บันลือธรรม กทม. 2. โรงเรียนภาครัฐบาลและโรงเรียนภาคเอกชน เช่น โรงเรียนวัดปุรณาวาส กทม./โรงเรียนวัดศาลาแดง กทม./โรงเรียนคลองบางกระทึก นฐ./โรงเรียนบ้านคลองโยง นฐ./โรงเรียนยอแซฟ นฐ./โรงเรียนทีปังกรณ์ฯ กทม. เป็นต้น

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

135 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

1. โรงเรียนได้ยกระดับการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษ และด้านพลังงาน 2. นักเรียนมีผลการสอบวิชาภาษาอังกฤษดีขึ้นสามารถนำความรู้ไปสอบในระดับที่สูงขึ้น และศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงได้เพิ่มขึ้น 3. นักเรียนได้นำความรู้ด้านพลังงานทดแทนไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง และชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน 4. โรงเรียนได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อยกระดับด้านการศึกษาทำให้ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพทำให้มีนักเรียนเข้ามาศึกษาเพิ่มมากขึ้น 5. เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียนกับมหาวิทยาลัยมหิดล 6. บุคลากร และนักศึกษา ได้เรียนรู้นอกห้องเรียนจากประสบการณ์จริง และได้ผลงานวิชาการด้านรับใช้สังคมเพิ่ม 7. คณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยกย่องให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมสู่ระดับสากล

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2021-05-15

ไฟล์เอกสาร

13122021105750_รูปโครงการค่ายสู่อาเซี่ยนรุ่น1.pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

- เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม - เว็บไซด์ : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน