ชื่อโครงการ/Project Name:
|
โครงการ “MUEG Mobile Battery Charger 2021”
|
ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:
|
ด้วย ทาง บมจ. NT ได้มอบตู้โทรศัพท์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว จำนวน 3 ตู้ เพื่อดำเนินการพัฒนาเป็นนวัตกรรมสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชน ซึ่งขณะนี้สถานพยาบาลทุกแห่งประสบปัญหาสถานการณ์ไวรัส COVID-19 อย่างมาก ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้ใช้บริการสถานพยาบาลต้องใช้บริการการการติดต่อสื่อสารผ่านระบบสัญญาณโทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อกับญาติหรือเรื่องอื่นๆในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้ทันเวลา ดังนั้น งานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมพิจารณาแล้วเห็นว่าตู้โทรศัพท์ดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรสิ่งดีให้กับสังคมและชุมชน และรองรับสถานการณ์ช่วงไวรัส COVID-19 หรือสถานการณ์อื่นๆที่คล้ายคลึงกันได้ จึงได้ประชุมเพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 มีมติที่ประชุมเห็นชอบดำเนินการในเรื่องดังกล่าวโดยพัฒนาตู้โทรศัพท์เป็นนวัตกรรม Mobile Battery Charger ต้นแบบ ส่งมอบให้กับโรงพยาบาล จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลปากพลี จ.นครนายก จำนวน 1 ตู้ และส่งมอบให้กับสถานศึกษา 2 แห่ง คือ 1) วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1 ตู้ และ 2) โรงเรียนวัดเวฬุวันวิทยา จ.บึงกาฬ จำนวน 1 ตู้ สำหรับผู้ที่มาใช้บริการโรงพยาบาล โรงเรียนหรือประชาชนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้การพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากบริษัท NT จำกัด (มหาชน) และ บริษัท สยามไลท์ติ้ง จำกัด
ดังนั้น งานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดโครงการ “EGMU Mobile Battery Charger 2021” ขึ้น เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมจากตู้โทรศัพท์ที่ไม่ใช้งานแล้วเป็นตู้ชาร์จโทรศัพท์มือถืออัตโนมัติ (Mobile Battery Charger) และส่งมอบให้กับโรงพยาบาล จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลปากพลี จ.นครนายก จำนวน 1 ตู้ และส่งมอบให้กับสถานศึกษา 2 แห่ง คือ 1) วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1 ตู้ และ 2) โรงเรียนวัดเวฬุวันวิทยา จ.บึงกาฬ จำนวน 1 ตู้ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่มาใช้บริการโรงพยาบาล โรงเรียนหรือประชาชนทั่วไปในช่วงสถานการณ์ไวรัส COVID-19 หรือสถานการณ์อื่นๆที่คล้ายคลึงกันได้ และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและบริการวิชาการทางวิศวกรรมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 4 Management For Self-Sufficiency and Sustainable Organization ต่อไป
|
วัตถุประสงค์/Objective *:
|
1. เพื่อพัฒนาตู้โทรศัพท์ที่ไม่ใช้งานเป็นตู้ชาร์จโทรศัพท์มือถืออัตโนมัติ (Mobile Battery Charger) จำนวน 3 ตู้
2. เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์งานด้านรับใช้สังคมให้กับบุคลากร
3. เพื่อมอบตู้ชาร์จโทรศัพท์มือถืออัตโนมัติ (Mobile Battery Charger) ให้กับโรงพยาบาล จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลปากพลี จ.นครนายก จำนวน 1 ตู้ และส่งมอบให้กับสถานศึกษา 2 แห่ง คือ 1) วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1 ตู้ และ 2) โรงเรียนวัดเวฬุวันวิทยา จ.บึงกาฬ จำนวน 1 ตู้ ในช่วงสถานการณ์ไวรัส COVID19 หรือสถานการณ์อื่นๆที่คล้ายคลึงกัน
4. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดีๆกลับสังคม
5. เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างคณะกับโรงพยาบาล โรงเรียน และชุมชน
|
วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:
|
2021-01-01
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:
|
ไทย
|
วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:
|
2021-09-30
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity / project location):
|
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
2. โรงเรียนวัดเวฬุวันวิทยา จ.บึงกาฬ
3. โรงพยาบาลปากพลี จ.นครนายก
4. วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:
|
1. วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
2. โรงพยาบาลปากพลี จ.นครนายก
3. โรงเรียนวัดเวฬุวันวิทยา จ.บึงกาฬ
4. บริษัท NT จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท สยามไลท์ติ้ง จำกัด
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:
|
|
ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:
|
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Activity / project implementation model) *:
|
กิจกรรม / การบรรยาย
|
จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน) (Target / Activity country) *:
|
60 คน
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target / Activity group) *:
|
1. ชุมชนมีความภาคภูมิใจในศักยภาพของสถานพยาบาล โรงเรียน และชุมชนของท้องถิ่น
2. โรงพยาบาล โรงเรียน และชุมชน เป็นต้นแบบในการกระจายสิ่งดีๆสู่สังคม
3. เกิดการสร้างนวัตกรรมที่ทันสมัยต่อสังคมร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับโรงพยาบาล โรงเรียน และชุมชน
4. เกิดศักยภาพทางการบริการเพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้เข้ารับบริการในสถานพยาบาล โรงเรียน และชุมชนที่มีชื่อเสียง
5. บุคลากร และนักศึกษา ได้เรียนรู้นอกห้องเรียนจากประสบการณ์จริง และได้ผลงานวิชาการด้านรับใช้สังคมเพิ่ม
6. คณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยกย่องให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมอย่างแท้จริง
|
วันที่เริ่มนำไปใช้ *:
|
2021-10-01
|
ไฟล์เอกสาร
|
03022022102131_โครงการตู้ชาร์จโทรศัพท์มือถือ (ESR).pdf
|
เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:
|
- เว็บไซด์/เพจ FB : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
- เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม
- เว็บไซด์/เพจ มหาวิทยาลัยมหิดล
- เว็บไซด์/เพจ พันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมทหิดล
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
|