ชื่อโครงการ/Project Name:
|
โครงการทดสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในสถานการณ์ COVID-19 ของ บริษัท เพอร์มา คอร์ปอเรชั่น จำกัด
|
ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:
|
เนื่องด้วย สถานการณ์ โรคระบาด CoVID-19 ส่งผลให้มีความต้องการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆที่มีความปลอดภัยกับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาคอุตสหกรรมทางการแพทย์ รวมถึง บริษัทเอกชนที่ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ หันมาให้ความสำคัญกับการทดสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในสถานการณ์ โรคระบาด COVID-19 มากขึ้น
ทั้งนี้ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มีห้องปฏิบัติการที่สามารถทดสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ และมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ รวมถึงมีทรัพยากรที่มีความพร้อม จึงทำให้ภาคเอกชนสนใจนำผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับการแพทย์มาทดสอบความปลอดภัย
ทางบริษัท เพอร์มา คอร์ปอเรชั่น จำกัดจะเพิ่มปริมาณการผลิต จากเดิม ประมาณ 13 ตัน/เดือน เพิ่มขึ้นให้ได้ไม่น้อยกว่า 20 ตัน/เดือน โดยรอบการผลิตคือ 120 ตัน/6 เดือน การผลิตครั้งละ 120 ตัน เพื่อจำหน่ายภายใน 6 เดือน เท่ากับเพิ่มผลผลิตร้อยละ35 ในส่วนของแผนการตลาด ทางบริษัทมีแผนจะขยายช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทางการแพทย์(ที่ผลิตมาจากRaw material คือ เส้นใย, เส้นด้าย หรือ ผ้าผืน) อาทิเช่น หน้ากากผ้าAnti-bacteria ที่สามารถซักใช้ซ้ำได้ถึง100ครั้ง, ผ้าปิดแผล, ผ้าพันแผล, ผ้ารองเฝือก,และ ชุดผ้าปูที่นอนผู้ป่วย ออกสู่ตลาด ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยการโฆษณาให้เป็นที่รู้จักผ่านการออกงานประเภทMedical Fair โดยที่ผ่านมา ทางบริษัทได้มีการโปรโมทไปตามโรงพยาบาลต่างๆให้เป็นที่รู้จักเกี่ยวกับนวัตกรรมสิ่งทอของเรา และผลิตภัณฑ์ที่เรามี ในส่วนของการตลาดในต่างประเทศ นอกจากเราจะได้งานวิจัยผลิตภัณฑ์ร่วมกับทางผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์แล้ว ยังสามารถนำมาต่อยอดในเรื่องของการขอใบรับรองต่างๆ ทั้งในประเทศ (อย. , ISO13485) และต่างประเทศ (CE Mark) เพื่อเป็นใบเบิกทางสู่การทำการค้าในประเทศและต่างประเทศ และเพื่อประชาสัมพันธ์ถึงนวัตกรรมที่คิดค้นและพัฒนาโดยฝีมือคนไทยอีกด้วย
ในส่วนของการแจกจ่ายนั้น ปัจจุบันทางบริษัทได้มีการแจกจ่ายผลิตภัณฑ์ส่วนหนี่งให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาล และผู้ป่วยยากไร้ได้ใช้อยู่ด้วยแล้ว ทั้งนี้ เมื่อการทดสอบเสร็จสมบูรณ์ ทำให้สามารถเพิ่มความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคได้มากขึ้น นอกจากการจัดจำหน่ายสินค้าแล้วนั้น ทางบริษัทก็จะมีการเตรียมสินค้า เช่น ผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ให้กับหน่วยแพทย์ชุมชน หรือ ศูนย์สุขภาพตำบล ตามจังหวัดต่างๆ ได้มีโอกาสได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราเช่นกัน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขาดแคลนทางด้านกำลังทรัพย์ให้มีโอกาสได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรารักษาโรคให้หายดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ช่วยทำให้พวกเขาเหล่านั้นได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย
|
วัตถุประสงค์/Objective *:
|
การทดสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้แก่ 1.เส้นใยเพอร์มา (PERMA Fiber) 2.ผ้าเพอร์มา (PERMA Fabric) ซึ่งเป็นRaw material ในการนำไปผลิตสินค้าสิ่งทอทางการแพทย์อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น ผ้าก๊อซปิดแผล, ผ้าพันแผล และ ชุดผ้าปูที่นอนของผู้ป่วย เป็นต้น เพื่อใช้ในสถานการณ์ COVID19 ของ บริษัท เพอร์มา คอร์ปอเรชั่น จำกัด
|
วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:
|
2020-10-01
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:
|
ไทย
|
วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:
|
2021-01-31
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity / project location):
|
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:
|
บริษัท เพอร์มา คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด ( PERMA Corporation CO., LTD)
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:
|
|
ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:
|
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Activity / project implementation model) *:
|
กิจกรรม / การบรรยาย
|
จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน) (Target / Activity country) *:
|
30 คน
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target / Activity group) *:
|
เมื่อการทดสอบเสร็จสมบูรณ์ ทำให้สามารถเพิ่มความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคได้มากขึ้น นอกจากการจัดจำหน่ายสินค้าแล้วนั้น ทางบริษัทก็จะมีการเตรียมสินค้า เช่น ผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ให้กับหน่วยแพทย์ชุมชน หรือ ศูนย์สุขภาพตำบล ตามจังหวัดต่างๆ ได้มีโอกาสได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเราเช่นกัน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขาดแคลนทางด้านกำลังทรัพย์ให้มีโอกาสได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรารักษาโรคให้หายดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ช่วยทำให้พวกเขาเหล่านั้นได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย
|
วันที่เริ่มนำไปใช้ *:
|
2021-02-01
|
ไฟล์เอกสาร
|
03022022105337_รูปภาพโครงการทดสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ฯ (BIO).pdf
|
เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:
|
- เว็บไซด์/เพจ FB : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
- เว็บไซด์/เพจ ภาควิชา BIO : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
- เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
|