ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการพัฒนาระบบติดตามการกระจายวัคซีนที่สามารถตรวจสอบแหล่งเก็บวัคซีนและสถานการณ์ขนส่งวัคซีน


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการพัฒนาระบบติดตามการกระจายวัคซีนที่สามารถตรวจสอบแหล่งเก็บวัคซีนและสถานการณ์ขนส่งวัคซีน

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ได้แพร่กระจายในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะส่งผลทำให้การแพร่ระบาดสิ้นสุดลงได้เร็ว คือ การผลิตวัคซีนที่สามารถต้านทานไวรัสโควิด-19 และจัดการกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการ ระบบการจัดการโลจิสติกส์โซ่อุปทานความเย็น จึงเป็นหลักการสำคัญในการเข้ามาช่วยพัฒนา ออกแบบ การขนส่งและระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับโซ่ความเย็นวัคซีนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิตลอดระยะเวลาการขนส่ง โดยที่สามารถตรวจสอบตั้งแต่บริษัทผู้ผลิต ไปจนถึงผู้ให้บริการ (โรงพยาบาล) มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข โดย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เล็งเห็นความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการกระจายวัคซีนในช่วงเวลาอันใกล้นี้ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับวัคซีนโควิด-19 ขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์จริงของการขนส่งวัคซีน ตลอดจนมั่นใจว่าวัคซีนนั้นถูกเก็บรักษาและขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้วัคซีน ด้วยระบบแพลตฟอร์ม ระบบติดตาม-ตรวจสอบย้อนกลับ “โซ่ความเย็น” วัคซีนโควิด-19 และระบบการกระจายวัคซีน เพื่อคำนวณปริมาณความต้องการของการฉีดวัคซีนแต่ละพื้นที่ให้มีความทั่วถึงกับปริมาณของวัคซีนที่ทยอยสั่งเข้ามาในประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ขอขอบคุณสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาระบบนี้ให้เกิดขึ้น ขอขอบคุณหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในทุกภาคส่วน อาทิ คณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) องค์การเภสัชกรรม (GPO) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค บริษัทผู้นำเข้า ผู้ขนส่งวัคซีน กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และความร่วมมือจากภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท AI and Robotics Venture (ARV) และบริษัท โนวากรีน เพาเวอร์ ซิสเท็ม จำกัด” ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพื่อใช้ติดตามการกระจายวัคซีนที่สามารถตรวจสอบแหล่งเก็บวัคซีนและสถานการณ์ขนส่งวัคซีน 2. เพื่อพัฒนาระบบติดตามการกระจายวัคซีนสู่โรงพยาบาลและชุมชน 3. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ และชุมชนมีสุขภาพดี

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2021-04-01

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2021-05-31

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

โรงพยาบาลทั่วประเทศที่ต้องขนส่งวัคซีน COVID19 จำนวน 30 แห่ง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

30 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

1. โรงพยาบาลได้รับการยกระดับความปลอดภัยและได้รับชือ่เสียงและความเชื่อมั่นจากประชาชน 2. ชุมชนได้รับวัคซีนด้วยความปลอดภัย บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนมีสุขภาพดี 3. เกิดการสร้างเครือข่ายร่วมกันกับโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัย

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2021-06-01

ไฟล์เอกสาร

03022022104203_รูปภาพโครงการพัฒนาระบบติดตามการกระจายวัคซีนฯ (IE).pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

- เว็บไซด์/เพจ FB : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล - เว็บไซด์/เพจ ภาควิชา IE : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล - เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน