ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการ “การพัฒนาสื่อนวัตกรรมด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการ “การพัฒนาสื่อนวัตกรรมด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

สืบเนื่องจากแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มุ่งเน้นทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การจะขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมได้นั้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นคลังความรู้ของประเทศเพื่อนำนวัตกรรมการศึกษาตลอดจนความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรและเทคโนโลยีไปช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเน้นการพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนผ่านทางกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศที่มีความเป็นเลิศและมีองค์ความรู้อันหลากหลาย มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีความพร้อมในการสนับสนุนนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโดยการร่วมขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในรูปแบบของเครือข่ายภาคอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งมีทักษะชีวิตควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2562-2566 ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและพันธกิจเพื่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีการจัดการเรียนการสอนและมีความเป็นเลิศในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยน้อมนำความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวความคิดของ "สะเต็มศึกษา" (STEM Education: Science, Technology, Engineering and Mathematics) ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยการศึกษาหาความรู้จากสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นจากสิ่งของหรือเครื่องมือโบราณที่ไม่ได้ใช้แล้วให้กลับมาใช้ใหม่ให้เป็นประโยชน์ได้ และนำการศึกษาต่อยอดโดยทำการประยุกต์ให้แก่นักเรียน และชุมชน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิชาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อีกทั้งยังมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์จึงมีความพร้อมในการสร้างความร่วมมือกับคณะและหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง นอกจากนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์นำโดยหน่วยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมได้กำหนดนโยบายสำคัญที่มุ่งเน้นให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาได้มีโอกาสทำกิจกรรมจิตอาสาและเสียสละเพื่อส่วนรวม โครงการดังกล่าวจึงเกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งบุคลากรของคณะวิศวกรรมศาสตร์และโรงเรียนเป้าหมาย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลมีการจัดการเรียนการสอนและมีความเป็นเลิศในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 7 สาขาวิชา ได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์จึงมีความพร้อมในการสร้างความร่วมมือกับคณะและหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเป้าหมาย อีกทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์นำโดยหน่วยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมได้กำหนดนโยบายสำคัญที่มุ่งเน้นให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาได้มีโอกาสทำกิจกรรมจิตอาสา เสียสละเพื่อส่วนรวม และมีความผูกพันกับชุมชน ดังนั้นโครงการนี้จึงเกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาการศึกษาของประเทศด้วยหลักสะเต็มศึกษาให้กับคุณครูและนักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา รวมทั้งเป็นแนวทางการส่งเสริมวิธีการเรียนรู้ด้านการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 และช่วยในการขับเคลื่อนประเทศไทยเดินหน้าเข้าสู่นโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลอีกทางหนึ่งด้วย

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพื่อประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ และศึกษาวัสดุที่ทำมาใช้ในการทำเครื่องกรองน้ำ 2. เพื่อเข้าใจในหลักการของการบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือนก่อนทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ 3. เพื่อศึกษาจำนวนชั้นกรอง และปริมาณของวัสดุในเครื่องกรองน้ำที่เหมาะสมสาหรับการผลิตเครื่องกรองน้ำ

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2021-01-01

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2021-04-30

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

1. เครือข่ายภาคกลางตอนล่าง 2. สำนักงานปลัดกระทรวงการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

30 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

1. โรงเรียนภาคกลางตอนล่างได้ยกระดับคุณภาพการศึกษาได้สูงขึ้น 2. ชุมชนยอมรับในศักยภาพด้านการศึกษาของท้องถิ่นตัวเอง 3. สป.อว. ได้รับการยกย่องเป็นองค์กรที่พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้กับโรงเรียนภาคกลางตอนล่างได้อย่างมีคุณภาพ 4. บุคลการครูภาคกลางตอนล่างมีคุณภาพด้านการสอนจากสื่อนวัตกรรมต้นแบบของจริงทำให้เกิดผลงานทางวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ 5. เกิดการสร้างเครือข่ายกันกับโรงเรียนภาคกลางตอนล่างและมหาวิทยาลัย

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2021-05-01

ไฟล์เอกสาร

03022022145638_รูปภาพโครงการสร้างสื่อการสอนเครื่องกรองน้ำ DIY (สป.อว.) (ESR).pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

- เว็บไซด์/เพจ FB : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล - เพจ FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม - เว็บไซด์/เพจ มหาวิทยาลัยมหิดล - เว็บไซด์/เพจ พันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน