ชื่อโครงการ/Project Name:
|
โครงการ “Smart Farm เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเสริมความแกร่งเกษตรกรไทย”
|
ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:
|
ภาคเกษตรของประเทศไทย เป็นภาคการผลิตที่มีประชากรมากกว่า 50 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศยังทำการเกษตรด้วยแรงงานคน และอาจมีการนำเครื่องจักรกลขนาดกลางและขนาดใหญ่เข้ามาใช้งานในลักษณะเครื่องมือทุ่นแรง เช่นรถไถขนาดเล็ก รถเกี่ยวข้าว เครื่องตัดหญ้า เป็นต้น ซึ่งปัจจัยการผลิตก็ยังคงต้องพึงพาแรงงานคนอยู่มากกว่า 90 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ปัจจุบันอัตราการเกิดเด็กของประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว และสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุ แต่ในขณะเดียวกันภาคการเกษตรที่เป็นภาคการผลิตที่สำคัญและมีประชากรจำนวนมากที่สุดประกอบอาชีพเกษตรนั้น ยังคงต้องใช้แรงงานคนเป็นหลักในการผลิต ทั้งที่แรงงานภาคการเกษตรขาดแคลน ทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำตามมาเป็นลูกโช่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระราชทานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ให้แก่ปวงชนชาวไทย เกษตรกรส่วนใหญ่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริไปปรับใช้โดยมีการปรับพื้นที่ให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ และมีการประยุกต์เป็นทฤษฎีใหม่ โดยเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในการปรับพื้นที่ให้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่นๆ ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางที่ทำให้เกษตรกรสามารถพึงพาตนเองได้และลดภาระค่าใช้จ่ายอีกทั้งสามารถเพิ่มรายได้อีกด้วย ในปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิตอล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบอินเตอร์เน็ตได้ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว และราคาลดลงอย่างมาก สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ซึ่งภาคการเกษตรจึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาประยุกต์ใช้ได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ การวางแผนการผลิต การคัดเลือกเมล็ดพันธ์ การควบคุมการให้น้ำ การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การจำหน่าย การคำนวณต้นทุน การทำบัญชีครัวเรือน เพื่อลดความต้องการในการใช้แรงงาน ประหยัดต้นทุนและพลังงาน ควบคุมคุณภาพการผลิต รวมไปถึงการวางแผนการผลิต และการจำหน่ายผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สอดรับกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่เกษตรกรมีอายุมากขึ้นมีแรงงานในครอบครัวน้อยลงการทำงานในอนาคตสามารถลดการใช้แรงงานลง เน้นการใช้ประสบการณ์ความรู้ และความเอาใจใส่ เพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาประยุกต์กับการผลิตด้านการเกษตร เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้แรงงาน เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการปรับปรุงพื้นที่อยู่อาศัยที่อยู่อาศัยให้สะดวกปลอดภัย และประหยัดพลังงาน โครงการนี้จึงใช้พื้นที่สาธิตต้นแบบตัวอย่างของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง จ.นครปฐม สำหรับเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมาปรับใช้กับแนวทางเกษตรทฤษฏีใหม่และอารยสถาปัตย์ ที่ออกแบบเพื่อสาธิตและเป็นต้นแบบการทำการเกษตรที่เหมาะในยุคดิจิตอล และถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรผู้สนใจ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมให้ความรู้ และสร้างนวัตกรรม ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมดีๆให้เกิดประโยชน์แก่โรงเรียน วัด วิทยาลัย โรงพยาบาล ชุมชนและสังคม อีกทั้งยังมีทีมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆที่มีความเชี่ยวชาญระดับชาติและระดับสากลจึงขอให้ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมต้นแบบเทคโนโลยีดิจิตอล Smart Farm และอบรมถ่ายทอดความรู้เทคนิคในเรื่องดังกล่าวให้กับเกษตรกร ชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไปในครั้งนี้และตลอดไป
จากปัญหาดังกล่าวทางหน่วยวิศวกรรมฯจึงเห็นว่าการจัดพัฒนานวัตกรรมต้นแบบเทคโนโลยีดิจิตอลและการอบรมถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกร ชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไป เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือ 1) ได้รับการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิตอล 2) ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร ชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไปมีศักยภาพด้านการเกษตรพอเพียง และนวัตกรรมต้นแบบด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล 3) เกษตรกร/ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจและรักในถิ่นฐานบ้านเกิดทำให้ลดการขาดแรงงาน 4) เกษตรกร/ชุมชนลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ 5) ชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนที่มีศักยภาพโดยมีสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นพี่เลี้ยง และ 6) เกษตรกรและชุมชนมีการสร้างฐานอาชีพตามแนวพระราชดำริ และมีการประยุกต์เป็นทฤษฎีใหม่ โดยเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มมากขึ้น
ในการนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยหน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกร ชุมชน และสังคม ซึ่งเป็นกำลังหลักของประเทศ และยังเป็นการสร้างฐานอาชีพเพิ่มรายได้ตามแนวพระราชดำริ และมีการประยุกต์เป็นทฤษฎีใหม่ โดยเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไป จึงได้จัดโครงการ “Smart Farm เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเสริมความแกร่งเกษตรกรไทย” ขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการฝึกทักษะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดความรู้ และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรจิตอาสาในการปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร ชุมชน และสังคม และเพื่อบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เกษตร เทคโนโลยีดิจิตอล เทคโนโลยีการเกษตร เพื่อเป็นฟาร์มต้นแบบสำหรับการเกษตร และเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร โรงเรียน วัด ชุมชน ผู้สนใจทั่วไป และด้านอื่นๆกับเกษตรกร ชุมชน และสังคมต่อไป และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและบริการวิชาการทางวิศวกรรมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals และยังดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผน PDCA ด้วย
|
วัตถุประสงค์/Objective *:
|
1. เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เกษตร เทคโนโลยีดิจิตอล เทคโนโลยีการเกษตร เพื่อเป็นฟาร์มต้นแบบสำหรับการเกษตร และเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร ชุมชน โรงเรียน วัด และผู้สนใจทั่วไป
2. เพื่อฝึกทักษะให้บุคลากรและนักศึกษาจิตอาสาได้ร่วมพัฒนาระบบ Smart Farm เพื่อเสริมความแกร่งเกษตรกรไทย
3. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ และความเชี่ยวชาญให้กับบุคลากร นักศึกษา เกษตรกร ชุมชุน และผู้ที่สนใจทั่วไปเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง
4. เพื่อส่งมอบระบบ Smart Farm เพื่อเสริมความแกร่งเกษตรกรไทยให้กับชุมชนวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง จ.นครปฐมจำนวน 1 ระบบ
5. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (SDGs17)
6. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสู่การขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม
7. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดีๆกลับสังคม
|
วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:
|
2024-05-01
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:
|
ไทย
|
วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:
|
2025-08-30
|
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ (Activity / project location):
|
วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง จ.นครปฐม
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:
|
1. ชุมชนวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง จ.นครปฐม
2. บริษัท พาวเวอร์ทีมเน็ตเวิร์ค จำกัด กทม.
3. บริษัท เอต้า อินเตอร์ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด กทม.
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:
|
หน่วยวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม
|
ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:
|
ผลกระทบด้านคน
ผลกระทบด้านคน
|
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ (Activity / project implementation model) *:
|
กิจกรรม / การบรรยาย
|
จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน) (Target / Activity country) *:
|
40 คน
|
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม (Target / Activity group) *:
|
1) เกษตรกร ชุมชน และสังคม ได้รับการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิตอล
2) เกษตรกร ชุมชน และสังคม ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร ชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไปมีศักยภาพด้านการเกษตรพอเพียง และนวัตกรรมต้นแบบด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล
3) เกษตรกร/ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจและรักในถิ่นฐานบ้านเกิดทำให้ลดการขาดแรงงาน
4) เกษตรกร/ชุมชนลดต้นทุนและเพิ่มรายได้
5) ชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนที่มีศักยภาพโดยมีสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นพี่เลี้ยง
6) เกษตรกรและชุมชนมีการสร้างฐานอาชีพตามแนวพระราชดำริ และมีการประยุกต์เป็นทฤษฎีใหม่ โดยเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มมากขึ้น
7) คณะวิศวกรรมศาสตร์และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์เกิดความร่วมมือในการสร้างโครงการพัฒนาองค์กรอย่างยื่น SDGs17. บุคลากรคณะฯได้รับการพัฒนาศักยภาพและได้ร่วมกิจกรรมจิตอาสางานด้านบริการวิชาการรับใช้สังคม
8) คณะและมหาวิทยาลัยได้สร้างผลงานด้านบริการวิชาการรับใช้สังคมเพิ่มขึ้น
9) คณะและมหาวิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายระหว่างโครงการจัดตั้งวิทยาเขตฯ และชุมชนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย
|
วันที่เริ่มนำไปใช้ *:
|
2024-09-01
|
ไฟล์เอกสาร
|
31032025153016_รูปภาพโครงการ Smart Farm.pdf
|
เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:
|
- https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/
- FB: วิศวะมหิดลเพื่อสังคม
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
|
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:
|
เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย
|