ชื่อ/รายละเอียด/โครงการ/กิจกรรม/Activity/Lecture/Reasearch/Conference

โครงการการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยศาสตร์วิศวกรรมและเทคโนโลยี


ชื่อโครงการ/Project Name:

โครงการการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยศาสตร์วิศวกรรมและเทคโนโลยี

 

ที่มาและความสำคัญ(Background and importance) *:

ด้วยทางโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี มีนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา กลยุทธ์และนวัตกรรมทางการบริหาร เพื่อเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพและการพัฒนาตนเอง สร้างการเปลี่ยนแปลงการบริการจัดการสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและยกระดับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียน และยกระดับโรงเรียนสู่เป็นโรงเรียนนวัตกรรม ซึ่งขณะนี้ทางโรงเรียนจัดการเรียนการสอนในระดับชั้น ม.1 – ม.6 และส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนจริงจากสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะเฉพาะทางในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในหัวข้อเรื่อง“การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยศาสตร์วิศวกรรมและเทคโนโลยี” ซึ่งขณะนี้การศึกษาในเรื่องดังกล่าวทางโรงเรียนฯยังขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะที่จะนำมาสู่กระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างยั่งยืน โดยการนำความรู้จากการฝึกอบรมในครั้งนี้ไปพัฒนานักเรียนให้สามารถเข้าสู่การเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ทางโรงเรียนฯพิจารณาแล้วเห็นว่าสถาบันการศึกษา โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมให้ความรู้ และสร้างนวัตกรรม ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมดีๆให้เกิดประโยชน์แก่โรงเรียน ชุมชนและสังคม อีกทั้งยังมีทีมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆที่มีความเชี่ยวชาญระดับชาติและระดับสากล จากปัญหาดังกล่าวทางงานวิศวกรรมฯจึงเห็นว่าการฝึกอบรมทักษะและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องดังกล่าวให้กับโรงเรียนฯเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทางโรงเรียนฯ ชุมชน และสังคม คือ 1) โรงเรียนฯได้รับความรู้ และทักษะในด้านเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) โรงเรียนฯได้สนับสนุนการศึกษาของนักเรียนทำให้โรงเรียนฯเกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัย เกิดทักษะ และเพิ่มมาตรฐานการเรียนรู้ที่ดีได้อย่างยั่งยืน 3) โรงเรียนฯมีแผนการเรียนการสอนสู่กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ 4) นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ และนำไปเป็นช่องทางการพัฒนาการเรียนให้มีผลการเรียนที่ดีขึ้นได้ และส่งผลให้นักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นนำได้ 5) ชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนที่มีสถาบันการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย 6) โรงเรียนฯได้รับการยกระดับมาตรฐานการศึกษาเชิงทักษะของจังหวัดนนทบุรี และ 7) โรงเรียนฯมีการสร้างฐานการศึกษาที่ดีเพิ่มขึ้น ในการนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับโรงเรียน และชุมชน ซึ่งเป็นกำลังหลักของประเทศ จึงได้จัดโครงการ “การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยศาสตร์วิศวกรรมและเทคโนโลยี” ขึ้น เพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้นำ การถ่ายทอดความรู้ และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรจิตอาสาในการปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ให้กับครู นักศึกษา นักเรียน โรงเรียน และชุมชน นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมและบริการวิชาการทางวิศวกรรมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่ 4 Management For Self-Sufficiency and Sustainable Organization และยังดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผน PDCA ด้วย

วัตถุประสงค์/Objective *:

1. เพื่อฝึกทักษะให้กับบุคลากร/นักศึกษาจิตอาสา 2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับ ครู และนักเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง 3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ศาสตร์วิศวกรรมและเทคโนโลยีเบื้องต้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง และเกิดความรู้ ทักษะ และพัฒนาต่อยอดสู่นวัตกรรมการเรียนรู้ต้นแบบ 4. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักการคืนสิ่งดีๆกลับสังคม

วันที่เริ่มกิจกรรม/โครงการ *:

2022-11-01

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

ประเทศไทย

วันสิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ *:

2022-12-17

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project location):

โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี จ.นนทบุรี

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/
ผู้มีส่วนได้เสีย(Related Stakeholders) *:

โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี จ.นนทบุรี

หน่วยงานที่รับผิดชอบ(Responsible agency) *:

ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(social impact) *:


รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
(Activity / project implementation model) *:

กิจกรรม / การบรรยาย

จำนวน/ผู้ร่วมกิจกรรม(คน)
(Target / Activity country) *:

70 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม
(Target / Activity group) *:

1. โรงเรียนฯได้รับหลักสูตร“การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยศาสตร์วิศวกรรมและเทคโนโลยี” จำนวน 1 เล่ม 2. โรงเรียนฯได้รับความรู้ และทักษะในด้านเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. โรงเรียนฯได้สนับสนุนการศึกษาของนักเรียนทำให้โรงเรียนฯเกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัย เกิดทักษะ และเพิ่มมาตรฐานการเรียนรู้ที่ดีได้อย่างยั่งยืน 4. โรงเรียนฯมีแผนการเรียนการสอนสู่กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ 5. นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ และนำไปเป็นช่องทางการพัฒนาการเรียนให้มีผลการเรียนที่ดีขึ้นได้ และส่งผลให้นักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นนำได้ 6. ชุมชนได้รับการยกย่องให้เป็นชุมชนที่มีสถาบันการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย 7. โรงเรียนฯได้รับการยกระดับมาตรฐานการศึกษาเชิงทักษะของจังหวัดนครปฐม 8.โรงเรียนฯมีการสร้างฐานการศึกษาที่ดีเพิ่มขึ้น 9. บุคลากรคณะฯได้รับการพัฒนาศักยภาพและได้ร่วมกิจกรรมจิตอาสางานด้านบริการวิชาการรับใช้สังคม 10. คณะและมหาวิทยาลัยได้สร้างผลงานด้านบริการวิชาการรับใช้สังคมเพิ่มขึ้น 11. คณะและมหาวิทยาลัยได้สร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียนฯ และชุมชนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย และบริเวณอื่นๆตามความเหมาะสม

วันที่เริ่มนำไปใช้ *:

2022-12-18

ไฟล์เอกสาร

12012024131415_รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยศาสตร์วิศวกรรมและเทคโนโลยี.pdf

เอกสารอ้างอิง(Reference document) (link/url) *:

FB : วิศวะมหิดลเพื่อสังคม https://www.eg.mahidol.ac.th/egmu/

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ1 (1 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอันดับ2 (2 Related SDGs Goal) *:

เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ